วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

บทที่ 5 วิธีการสอน

วีธีการสอนแบบบรรยาย
     คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระ โดย พูด บอก เล่า อธิบายเนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน

วัตถุประสงค์
     วีธีการสอนโดยใช้กระบวนการบรรยายเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้เรียนรู้ เนื้อหาสาระ หรือข้อมูลมากๆพร้อมๆกัน

ลักษณะการสอนบรรยาย
1.ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหา
2.ผู้เรียนเป็นฝ่ายฟัง
3.มุ่งถ่ายทอดความรู้โดยตรงแก่ผู้ฟัง
4.เน้นการถ่ายทอดสาระวิชาการ

ขั้นตอนการสอนแบบบรรยาย
1.ผู้สอนเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรรยาย
  • วินิจฉัยผู้เรียน
  • เตรียมเนื้อหา
  • เตรียมคำถาม
  • เตรียมสื่อการเรียนการสอน
2.ขั้นสอน
  • ขั้นนำ
  • ซักถาม
  • นำเสนอสิ่งเร้าที่น่าสนใจ
  • ทอสอบก่อนเรียน
  • ขั้นอธิบายขั้นตอน
  • บอกเค้าโครงเรื่อง
  • อธิบายตามลำดับ
  • ใช้สายตา ใช้สื่อ ตัวอย่าง
  • ระดมสมอง อภิปราย คำถาม
  • ขั้นสรุป
  • เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม
  • ผู้สอนสรุปเอง
  • ผู้สอนและผู้เรียนสรุปร่วมกัน
3.ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
  • ทดสอบหลังการบรรยาย
  • มอบหมายงาน
  • ตรวจแบบฝึกหัด

ข้อดีของการสอนแบบบรรยาย
  1. สอนได้เร็ว
  2. ใช้สอนผู้เรียนได้จำนวนมาก
  3. สะดวก

วิธีการสอนแบบสาธิต
     วิธีการสอนที่ครูมี่หน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม

วัตถุประสงค์
     วีธีสอนโดยใช้การสาธิตเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนทั้งชั้นได้เห็นการปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหรือการปฏิบัติให้ชัดเจน


ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบสาธิต
  1. เพื่อกระต้นความสนใจ
  2. เพื่อช่วยอธิบายเนื้อหาที่ยาก
  3. เพื่อพัฒนาการฟังการสังเกตุและการสรุปทำความเข้าใจ

ขั้นตอนในการสอนของวีธีการสอนแบบสาธิต
  1. กำหนดจุดมุ่งหมาย
  2. เตรียมอุปกรณ์ในการสาธิต
  3. เตรียมกระบวนการสาธิต
  4. ทดลองสาธิตก่อนสอบ
  5. ต้องจัดทำคู่มือคำแนะนำหรือข้อสังเกตในการสาธิต
  6. เมื่อสาธิตเสร็จสิ้นแล้ว นักเรียนควรได้ทำการสาธิตซ้ำอีก เพื่อเน้นให้เกิดความเข้าใจดีขึ้

ข้อดีของการสอนแบบสาธิต
  1. ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง
  2. ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่าย
  3. ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
  4. ทำให้ประหยัดเงินและประหยัดเวลา
  5. ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์

วิธีการสอนแบบอภิปราย
     คือ เป็นการสอนโดยที่นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันอภิปรายกระทำระหว่างครูกับนักเรียน หรือระหว่างนักเรียนด้วยกัน โดยมีครูเป็นผู้ประสานงาน วิธีการสอนแบบอภิปรายจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น พูดเป็น และสร้างความเป็นประชาธิปไตย

ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบอภิปราย
  1. เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตย
  2. เพื่อฝึกทักษะในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
  3. เพื่อฝึกทักษะในการพูด และการแสดงความคิดสร้างสรรค์

ขั้นตอนการสอน
  • ขั้นเตรียมการอภิปราย
  • หัวข้อและรูปแบบการอภิปราย
  • ผู้เรียน
  • ห้องเรียน
  • สื่อการเรียน
  • ขั้นดำเนินการอภิปราย
  • บอกหัวข้อหรือปัญหาที่จะอภิปรายให้ชัดเจน
  • ระบุจุดประสงค์
  • บอกเงื่อนไขหลักเกณฑ์การอภิปรายเช่นระยะเวลาที่ใช้ รูปแบบวิธีการ
  • ดำเนินการอภิปราย
  • ขั้นสรุป
  • สรุปผลการอภิปราย
  • สรุปการเรียน
  • ประเมินผลการเรียน

ข้อดีของวิธีการสอนแบบอภิปราย
  1. ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและรับ
  2. พัฒนาสติปัญญาของนักเรียนด้านการคิดหาเหตุผล
  3. ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียนเพื่อนนำมาใช้ในการอภิปราย
  4. ผู้เรียนสามารถนำวิธีการอภิปรายไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
     คือ เป็นวิธีสอนที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัดหรือความสนใจ เป็นการฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกัน

ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
  1. เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบร่วมกันในการทำงาน
  2. เพื่อสร้างวัฒในการทำงานร่วมกันอย่างมีระบบและระเบียบวินัย
  3. เพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหา การศึกษาค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
  4. เพื่อให้นักเรียนได้ทำงานตามความสนใจ ความถนัด และความสามารถ

ขั้นตอนในการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
  1. ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดความหมายของการทำงานในแต่ละกลุ่ม
  2. ครูเสนอแนะแหล่งวิทยาการที่จะใช้ค้นคว้าหาความรู้
  3. นักเรียนร่วมกันวางแผนและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
  4. ครูและนักเรียนประเมินผลการทำงาน

ข้อดีของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
  1. นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่
  2. นักเรียนได้ทำงานตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตนเอง

วิธีการสอนแบบนิรนัย
     "เป็นการสอนจากหลักการไปสู่ตัวอย่างย่อยๆ ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนการนำหลักการนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่"
   
วัตถุประสงค์ของการสอนแบบนิรนัย
      วิธีการการสอนโดยใช้การนิรนัย เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียน รู้หลักการและสามารถนำหลักการดังกล่าวไปใช้ได้

องค์ประกอบสำคัญ(ที่ขาดไม่ได้)ของวิธีสอน
  1. มีทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปต่างๆ
  2. มีตัวอย่างสถานการณ์ที่หลากหลาย ที่สามรถนำทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปนั้นไปใช้ได้
  3. มีการฝึกนำทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปไปใช้ในเหตุการณ์สถานการณ์ที่หลากหลาย
  4. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากการนำหลักการไปใช้

ขั้นตอนสำคัญของการสอน
  1. ผู้สนอถ่ายทอดความรู้ ทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุปที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ด้วยวิธีการต่างๆตามความเหมาะสม
  2. ผู้สอนให้ตัวอย่างสถานการณ์ใหม่ที่หลากหลายที่สามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปใช้
  3. ผู้สอนให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัตินำความรู้ ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
  4. ผู้สอนให้ผู้เรียนวิเคราะห์และอภิปรายการเรียนรู้ที่เกิดขึ้
  5. ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆในการใช้วิธีการสอนโดยการนิรนัยให้มีประสิทธิภาพ
  1. ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อความรู้ข้อสรุปที่ต้องการสอนให้แก่ผู้เรียนและหาวิธีการที่เหมาะสมมาถ่ายทอด
  2. การนำเสนอข้อความรู้ ทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุปแก่ผู้เรียน
  3. การนำเสนอสถานการณ์ใหม่ที่ให้ผู้เรียนฝึกใช้ความรู้

ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
  1. เป็นวิธีการสอนที่ช่วยถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้อย่างรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
  2. เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนการนำทฤษฎี หลักการไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
  3. เป็นวิธีการสอนที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนมีความสามารถหรือเรียนรู้ได้เร็วสามารถพัฒนา โดยไม่ต้องรอผู้เรียนที่ช้ากว่า

วิธีการสอนแบบอุปนัย
     เป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนสรุปหลักการหรือแนวคิดจากตัวอย่างต่างๆด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดได้ทำความเข้าใจด้วยตนเอง


วัตถุประสงค์การสอนแบบอุปนัย
     วิธีการสอนโดยใช้การอุปมัยเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์สามารถจับหลักการ หรือประเด็นสำคัญได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้หลักการ แนวคิด หรือข้อความรู้ต่างๆอย่างเข้าใจ

องค์ประกอบสำคัญของวิธีสอน
  1. มีตัวอย่าง ข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ ความคิดที่เป็นลีกษณะย่อยๆของสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
  2. มีการวิเคราะห์ตัวอย่างต่างๆเพื่อหาหลักการที่ร่วมกัน
  3. มีการสรุปหลักการและข้อสรุปที่มีลักษณะเป็นหลักการ แนวคิด

ขั้นตอนสำคัญของการสอน
  1. ผู้สอนหรือผู้เรียน ยกตัวอย่าง ข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์ ปรากฎการณ์ ความคิด ที่มีลักษณะสำคัญของสิ่งที่จะเรียนรู้
  2. ผู้เรียนศึกษาและวิเคราะห์หาหลักการที่แฝงอยู่ในตัวอย่างนั้นๆ
  3. ผู้เรียนสรุปหลักการ แนวคิด ที่ได้จากตัวอย่างนั้นๆ

เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆในการใช้วิธีสอนโดยการนิรนัยให้มีประสิทธิภาพ
  1. การเตรียมตัวอย่าง
  2. การให้ผู้เรียนศึกษาวิเคราะห์หาหลักการ แนวคิดจากตัวอย่าง
  3. การให้ผู้เรียนสรุปและนำข้อสรุปไปใช้

ข้อดีและข้อจำกั
  1. เป็นวิธีการสอนที่ผู้เรียนสามารถค้นพบการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจึงทำให้เกิดความเข้าใจและจดจำได้ดี
  2. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ อันเป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้
  3. เป็นวิธีการสอนที่ผู้เรียนได้ทั้งเนื้อหาความรู้ และกระบวนการ ซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการรู้เรื่องอื่นๆได้

วิธีการสอนโดยใช้การทดลอง
     คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดปัญหาและสมมุติฐานในการทดลองและลงมือทดลองปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปอภิปรายผลการทดลอง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับจากการทดลอง

วัตถุประสงค์
     วิธีการสอนโดยใช้การทดลอง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนรายบุคคลหรือรายกลุ่มเกิดการเรียนรู้โดยการเห็นผล จากการคิดและการกระทำของตนเอง ทำให้การเรียนรู้นั้นตรงกับความเป็นจริง มีความหมายสำหรับผู้เรียนและจำได้นาน

องค์ประกอบของวิธีการสอน
  1. มีปัญหาและสมมุติฐานในการทดลอง
  2. มีวัสดุอุปกรณ์สำหรับทดลอง
  3. มีการทดลอง
  4. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการทดลอง

ขั้นตอนการสอนแบบทดลอง
  • ขั้นเตรียมการทดลอง
  • กำหนดจุดประสงค์
  • วางแผนการทดลอง
  • จัดเตรียมวัสดุและเครื่องมือ
  • ตรวจสอบความถูกต้องและประสิทธิภาพของเครื่องมือ
  • เตรียมแบ่งกลุ่มผู้เรียน
  • ขั้นลงมือทดลอง
  • ขั้นสรุปผลการทดลอง

ข้อดี
  1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของการปฏิบัติการหรือทดลอง
  2. เป็นการเรียนรู้จากการกระทำ หรือเป็นการเรียนรู้จากสภาพจริง
  3. เสริมสร้างความคิดในการหาเหตุผล
  4. เป็นการเรียนรู้เพื่อนำประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
  5. เป็นการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสหลายด้าน
  6. การปฏิบัติการหรือทดลอง นอกจากช่วยเพิ่งความเข้าใจในการเรียนรู้แล้ว ยังทำให้นักเรียนมีคามสนใจและตั้งใจเรียนเพราะได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง

วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ
     คือ วิธีการสอนที่ผู้สอนสร้างสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติขึ้นจากความเป็นจริง มาให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามที่ผู้เรียนคิดว่าจะเป็น ผู้สอนจะใช้การแสดงออกทั้งด้านความรู้ ความคิด และพฤติกรรมของผู้แสดงมาเป็นพื้นฐานในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ผู้เรียน อันจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาสาระของบทเรียนอย่างลึกซึ้ง และรู้จักปรับหรือเปลี่ยนพฤติกรรม และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

วัตถุประสงค์
     วิธีการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมุติ เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เกิดความเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้อื่นหรือเกิดความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับบทบาทสมมุติที่ตนแสดง

ความมุ่งหมายของวิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ
  1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อื่น
  2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับหรือเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม
  3. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้ความคิดในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ
  4. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงออก ได้เรียนด้วยความเพลิดเพลิน
  5. เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น

ลักษณะของบทบาทสมมุติ
  1. การแสดงบทบาทสมมุติแบบละคร
  2. การแสดงบทบาทสมมุติแบบแก้ปัญหา

ขั้นตอนวิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ
  • ขั้นเตรียมการสอน
  • เตรียมจุดประสงค์ของการแสดงบทบาทสมมติ
  • เตรียมสถานการณ์สมมติ
  • ขั้นดำเนินการสอน
  • ขั้นนำสู่การแสดง
  • เลือกผู้แสดง
  • เตรียมความพร้อมผู้แสดง
  • จัดฉากการแสดง
  • เตรียผู้สังเกตการณ์
  • การแสดง
  • การตัดบท
  • ขั้นวิเคราะห์และอภิปรายผลการแสดง
  • ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น คิดวิเคราะห์ อภิปราย
  • ขั้นแสดงเพิ่งเติม
  • ผู้เรียนเสนอแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหา
  • ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุ
  • ผู้เรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสรุปร่วมกันกับผู้สอน

ข้อดีของวิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ
  1. ช่วยให้เกิดความเข้าใจว่าอื่นอาจคิด รู้สึก และปฏิบัติอย่างไร เห็นอกเห็นใจคนอื่น
  2. ใช้ช่วยในการเปลี่ยนแปลงเจตคติ
  3. ผู้เรียนได้รับการเตรียมสำหรับสถานการณ์จริงที่จะเผชิญ
  4. กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
  5. สามารถใช้พัฒนาทักษะทางสังคม

วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

บทที่ 2 ความหมายและความสำคัญของครู

ความหมายของคำว่า "ครู"
ครู คือ ผู้ที่อบรมสั่งสอน ถ่ายทอดความรู้ สร้างสรรค์ภูมิปัณญา โดยคำนึงถึงพื้นฐานความรู้ ความสามารถ และเป้าหมายของนักเรียนแต่ละคนและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เพื่อนำไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมและประเทศชาติ

ความสำคัญของครู
1.เป็นผู้ที่ทำให้การจัดการศึกษาของชาติบรรลุเป้าหมาย
2.เป็นแม่พิมพ์ที่ดีทั้งด้านความรู้และความประพฤติ
3.เป็นผู้สร้างเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่ดีของชาติ
4.เป็นผู้นำ ผู้ปลูกฝังและพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมให้แก่เยาวชนและสังคม
5.เป็นผู้นำและผู้ส่งเสริมความมั่นคงทางศาสนาและวัฒนธรรม
6.เป็นผู้สร้างและพัฒนาเยาวชนของชาติไปในทิศทางที่ดี
7.เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาชาติทั้งทางด้านการศึกษา สังคม เศรษฐกิจ การเมืองและการปกครอง

บทบาทและหน้าที่ของครู
1.สอนศิลปะวิทยาการต่างๆให้แก่ศิษย์
2.อบรมสั่งสอนด้านคุณธรรม จริยธรรมและค่านิยมที่ดีงามแก่ศิษย์
3.ปกครองดูแลศิษย์
4.ประเมินผลความเจริญก้าวหน้าของศิษย์
5.แนะแนวการศึกษาและอาชีพแก่ศิษย์
6.จัดกิจกรรมต่างๆเพื่อส่งเสริมความเจริญงอกงามแก่ศิษย์
7.ปฎิบัติงานในหน้าที่และงานที่รับมอบหมายให้สำเร็จเรียบร้อยและคุณภาพ
8.ดูแลสอดส่องทรัพย์สินของสถานศึกษา
9.สร้างเสริมสมรรถภาพทางวิชาการให้แก่ตนเองอย่างสม่ำเสมอ
10.รักษาวินัยและประพฤติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์และบุคคลทั่วไป

คุณลักษณะของความเป็นครูที่ดี
1.มีความเป็นครู คือ ทำตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี เมตตาปราณีศิษย์ รักอาชีพครู ใฝ่รู้ โลกทัศน์กว้าง รับผิดชอบต่อหน้าที่ ยอมรับการเปลี่ยนแปลง มีวุฒิภาวะชีวิตที่สงบเรียบง่าย มีบทบาทในการช่วยเหลือสังคม
2.มีความรู้ดีทั้งในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู วิทยาการจัดการ จิตวิทยา และความรู้ทั่วไป การส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมและการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3.มีความสามารถในวิธีการสอน วิธีอบรม และการพัฒนาการเป็นผู้นำ ผู้ตาม และผู้ประสานงานที่ดี โดยได้รับการฝึกปฎิบัติเหมาะสมจนเกิดทักษะ

จรรยาบรรณครู
1.ครูต้องรักและเมตตาศิษย์
2.ครูต้องอบรม สั่งสอน ฝึกฝน เสริมสร้างความรู้ ทักษะและนิสัยที่ถูกต้องดีงามให้แก่ศิษย์
3.ครูต้องประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดีให้แก่ศิษย์
4.ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความเจริญทางกาย วาจา และจิตใจ
5.ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์ อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติ
6.ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพ และวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคมและการเมือง
7.ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครูและสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู
8.ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครูและชุมชนในทางสร้างสรรค์
9.ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตน เป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย


 

บทที่ 4 กิจกรรมการเรียนการสอน

ความหมายของกิจกรรมการเรียนการสอน
หมายถึง การกระทำกิจกรรมใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นระหว่างบทเรียน อันเนื่องมาจากการที่ผู้สอนสื่อความหมายกับผู้เรียนโดยใช้สื่อชนิดต่างๆ  เพื่อติดต่อสื่อ ความหมายเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่ผู้เรียนต้องศึกษาตามหลักสูตรที่วางไว้

ความสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอน
1.ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดี
2.ช่วยส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็ก
3.ช่วยเล้าความสนใจของเด็ก
4.ช่วยขยายความรู้และประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขึ้น
5.ช่วยเปิดโอกาสให้นักเรียนประสบความสำเร็จ
6.ช่วยปลูกฝังทัศนคติที่ดี
7.ช่วยส่งเสริมทักษะในด้านต่างๆ
8.ช่วยปลูกฝังและส่งเสริมความคิดริเริ่ม
9.ช่วยปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย
10.ช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบ
11.ช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะ
12.ช่วยให้เห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล

จุดประสงค์ของกิจกรรมการเรียนการสอน
1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทางร่างกาย  อารมณ์  สังคมและสติปัญญา
2. เพื่อสนองความสามารถ  ความถนัด ความสนใจของผู้เรียน
3. เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนการสอน
4. เพื่อสนองเจตนารมณ์ของหลักสูตร  ให้ผู้เรียนได้คิดเป็น แก้ปัญหาและเกิดทักษะกระบวนการ
5. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกและมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน

หลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
คือ  แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ 
1.สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร
2.สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาบทเรียน
3.จัดกิจกรรมที่แสดงถึงความชัดเจนของขั้นตอนการเรียนรู้
4.สอดคล้องและเหมาะสมกับวัย ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน
5.สอดคล้องกับลักษณะของเนื้อหา
6.จัดกิจกรรมให้มีลำดับขั้นตอน
7.น่าสนใจ โดยการใช้สื่อการสอนที่เหมาะสม
8.ใช้เทคนิควิธีสอนที่หลากหลาย
9.มีบรรยากาศที่เป็นกันเอง

ประเภทของกิจกรรมการเรียนการสอน
1.กิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  
2.กิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง 

กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ทั่วไป
1.การรายงานหน้าชั้นเรียน
2.สถานการณ์จำลอง
3.การสัมภาษณ์
4.การเชิญวิทยากร
5.การเล่านิทาน

ขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
1.การนำเข้าสู่บทเรียน
2.ขั้นสอน
3.ขั้นสรุปและวัดผล

การนำเข้าสู่บทเรียน
คือ  ทักษะที่ครูใช้ในการจัดกิจกรรมก่อนเริ่มสอน เพื่อเป็นการเตรียมนักเรียนให้มีความคิดว่ากำลังเรียนเรื่องอะไร สามารถนำเอาความรู้และทักษะที่นักเรียนมีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนที่ครูสอนได้  จะใช้เวลาประมาณ  5-15 นาที  สำหรับการนำเข้าสู่บทเรียนวิธีนำเข้าสู่บทเรียน  มีหลายวิธี  ดังนี้
1.ใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเนื้อหา
2.ใช้คำถาม  เพื่อเชื่อมประสบการณ์เดิมของนักเรียนไปสู่ประสบการณ์ใหม่
3.ให้นักเรียนสาธิตกิจกรรมที่สัมพันธ์กับบทเรียน
4.เล่านิทาน  หรือ  เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ  ให้สัมพันธ์กับเรื่องที่เรียน
5.ร้องเพลง  ให้สัมพันธ์กับเรื่องที่จะเรียน
6.ตั้งปัญหาหรือเล่นเกมทายปัญหา
7.การแสดงบทบาทสมมติ หมายถึง  การที่ครูกำหนดสถานการณ์หรือเงื่อนไขให้แล้วนักเรียนคิดว่าจะทำอย่างไร

ขั้นสอน
เป็นขั้นการสอนที่ครูผู้สอนจะต้องสอนให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ ได้ตรงตามเนื้อหาสาระที่จะสอน เพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

ขั้นสรุปและวัดผล
การสรุป  เป็นการสรุปเนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมด สรุปทั้งด้าน ความรู้ ความคิด เจตคติและทักษะการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ในการสรุปนั้นผู้สอนอาจสรุปเอง หรือผู้เรียนเป็นผู้สรุป หรือผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุป 

ขั้นสรุปและวัดผล
การวัดผลการเรียนรู้  โดยใช้วิธีการถามตอบ การทำแบบฝึกหัด หรือการทำแบบทดสอบ

วิธีสอน

ความหมายของวิธีสอน
หมายถึง  การจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามและพัฒนาไปในทางที่พึ่งปรารถนาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา

ความสำคัญของวิธีสอน
1.ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
2.สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการสอน
3.ผสมผสานวิธีการสอนแบบต่างๆ

ประเภทของวิธีสอน
1. จำแนกโดยใช้จำนวนผู้เรียน   จำแนกได้ 3 ประเภท
1.1 การสอนเป็นกลุ่มใหญ่  คือ  มีจำนวนผู้เรียนมาก ผู้สอนมีบทบาทเกือบทั้งหมด  เช่น การสอนแบบบรรยาย
1.2 การสอนเป็นกลุ่มย่อย  คือ  มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด  เช่น การสอนแบบอภิปราย  การสอนแบบบทบาทสมมุติ
1.3 การสอนที่เป็นรายบุคคล คือ  ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความสนใจและความสามารถของผู้เรียน
2.จำแนกโดยปริมาณของบทบาทผู้สอนและบทบาทของผู้เรียนเป็น
เกณฑ์จำแนกเป็น  ประเภท
2.1 วิธีสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง คือ วิธีการสอนที่ครูผู้สอนเป็นผู้จัดและดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ เช่น วิธีการสอนแบบบรรยาย  วิธีการสอนแบบสาธิต  วิธีการสอนแบบใช้คำถาม
2.2 วิธีสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  คือ วิธีการสอนที่ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่ จะศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองเช่น การสอนแบบปฏิบัติการการสอนโดยแสดงบทบาทสมมุติ
2.3วิธีการสอนแบบผู้สอนและผู้เรียนมีกิจกรรมร่วมกัน  คือ  เป็นการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนมีบทบาทพอๆกันมีการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน เช่น  การสอนแบบอภิปราย  การสอนแบบสัมมนา
2.4  การสอนโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ  คือ  บทบาทการสอนทั้งหมดจะอยู่ที่โสตทัศนอุปกรณ์ที่ใช้  เช่น  ภาพยนตร์  คอมพิวเตอร์  สไลด์ประกอบเสียง

วิธีการสอนที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน
1.การสอนแบบบรรยาย  (Lecture Method)  เป็นการสอนที่ผู้สอนบอกเล่าอธิบายเนื้อหา  เตรียมการศึกษาค้นคว้าเนื้อหามาถ่ายทอดให้ผู้เรียน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนน้อย
2.การสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)  เป็นการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดเป็น พูดเป็น อยู่รวมกันแบบประชาธิปไตย
3.การสอนแบบสาธิต (Demonstration Method)  เป็นการสอนที่ผู้สอนมีหน้าที่วางแผนการสอนเป็นส่วนใหญ่ มีการแสดงหรือกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง  เกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การกระทำหรือการแสดง
4.การสอนแบบปฏิบัติการ (Laboratory) เป็นการสอนที่ใช้ผู้เรียนกระทำกิจกรรมการเรียนภายใต้การแนะนำช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด โดยทำการทดลอง ปฏิบัติการ  ฝึกการใช้ทฤษฏีโดยการสังเกตทดลองภายใต้การดูแลของผู้สอน
5.การสอนแบบสัมมนา (Seminer)  เป็นการสอนที่ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าออย่างลึกซึ้งแล้วนำมาเสนอโดยอภิปราย
6.การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่สมมุติขึ้น
7. การสอนแบบแก้ปัญหา (Problem Solving) เป็นการสอนที่ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่  นิยามปัญหา ตั้งสมมุติฐาน รวบรวม ประเมิน สรุปผลและตรวจสอบผลสรุป
8.การสอนแบบอุปนัย (Inductive  Method) เป็นการสอนแบบปลีกย่อยมหา กฎเกณฑ์ หรือสอนจากตัวอย่างไปหาข้อสรุป  โดยให้นักเรียนหรือผู้เรียนศึกษา ทดสอบ สังเกตเปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุป
9.การสอนแบบนิรนัย (Deductive  Method) เป็นการสอนที่เริ่มจากกฎเกณฑ์หรือหลักการต่างๆ แล้วให้ผู้เรียนหาเหตุผล หลักฐานมายืนยัน วิธีสอนแบบนี้ฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล
10.การสอนแบบโครงการ (Project Method) เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้วางโครงการและการดำเนินงานให้สำเร็จตามโครงการ เป็นการสอนที่สอดคล้องกับความจริง  ผู้เรียนทำงานด้วยการตั้งปัญหาและดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือทำจริง
11.การสอนแบบค้นพบความรู้ (Discovery) เป็นการสอนที่ผู้เรียนค้นคว้าคำตอบหรือความรู้ด้วยตัวเอง
12.การสอนโดยการใช้โสตทัศนูปกรณ์ (Audio-visual Media) เป็นการสอนที่ใช้อุปกรณ์การสอนต่างๆ เช่น สไลด์ ภาพยนตร์โทรทัศน์

เกณฑ์การเลือกวิธีสอน
1.วิธีควรเหมาะสมกับความสามารถความรู้ในเนื้อหาวิชาและความสนใจของผู้สอน
2.วิธีสอนควรเหมาะสมกับผู้เรียน เช่น วัย ความสามารถ ความสนใจ
3.วิธีสอนต้องเหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน
4.วิธีสอนจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาวิชา
5.วิธีสอนจะต้องสอดคล้องกับเวลาและสถานที่
6.วิธีสอนจะต้องเหมาะสมกับอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อม

กลวิธีการสอน

ความหมายของกลวิธีการสอน(Instructional Stray)
หมายถึง  การจัดเลือกวิธีการสอน (Teaching Methods) วิธีใดวิธีหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งวิธี บวกกับเทคนิคการสอน(Teaching Techniques) ต่างๆสำหรับวิธีการสอนที่ต้องการรวมทั้งการจัดสภาพห้องเรียนและการใช้อุปกรณ์ช่วยสอนต่างๆ เพื่อทำให้สามารถทำหน้าที่การสอนนั้น สำเร็จลุล่วงด้วยดี

ลักษณะกลวิธีการสอน
1.กลวิธีการสอนไม่ต้องมีรากฐานทางปรัชญาอย่างลึกซึ่ง เช่นการเชิญวิทยากร
2.เวลาของแผนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้เวลามาก
3.กลวิธีการสอนจะมีลักษณะง่ายๆโดยธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์เดียวกัน
4.กลวิธีการสอนมีขีดจำกัดในการพัฒนาทักษะที่สำคัญๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนอื่นๆได้น้อยมาก

ลักษณะของวิธีการสอน
1.วิธีการสอนแต่ละวิธีจะมีรากฐานทางปรัชญา
2.วิธีการสอนแต่ละวิธีจะมีความซับซ้อนโดยธรรมชาติเกี่ยวข้องกับกิจกรรมมากมาย
3.วิธีการสอนแต่ละวิธีจะช่วยนักเรียนให้พัฒนาทักษะต่างๆ  นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนอื่นๆได้
4.วิธีการสอนแต่ละวิธีการวางแผนในชั้นเรียนอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือหลายสัปดาห์ในการถ่ายทอดความรู้

กลวิธีการสอนที่พบเห็นได้บ่อยๆ ได้แก่
1.การสอนเป็นรายบุคคล
2.กิจกรรมการฝึกฝน
3.การไปทัศนศึกษา
4.การอภิปรายเป็นหมู่คณะ
5.การสาธิต
6.การเชิญวิทยากรจากภายนอก
7.การเขียนคำถาม  ฯลฯ

การใช้กลวิธีการสอนกับวิธีการสอน 
1.ครูที่ใช้วิธีสอนในการถ่ายทอดเนื้อหา 
2.ครูที่ใช้กลวิธีการสอนในการถ่ายทอดเนื้อหา 
3.ครูที่ใช้วิธีการสอนและกลวิธีการสอนผสมผสานกันมาถ่ายทอดเนื้อหา

ความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการ
กระบวนการ  คือ  แนวทางการดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีขั้นตอนซึ่งวางไว้อย่างเป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนจบตามจุดประสงค์ที่กำหนด
ความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการ  หมายถึง  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีลำดับขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบแล้วบรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้
กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
1.ทักษะกระบวนการ  9 ประการ  
ใช้กับบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานหรือภาคปฏิบัติการเรียนรู้ผ่านทักษะกระบวนการ 9 ประการ มีขั้นตอนในการสอนดังนี้
1.ขั้นตระหนักในปัญหาและความจำเป็น 
2.ขั้นคิดวิเคราะห์วิจารณ์  คือ นำปัญหามาแยกแยะความสำคัญ 
3.ขั้นสร้างทางเลือกที่หลากหลาย คือ ให้ผู้เรียนเสนอแนวทางแก้ไข
4.ขั้นประเมินผลและเลือกทางเลือก
5.ขั้นกำหนดและลำดับขั้นในการปฏิบัติ
6.ขั้นปฏิบัติอย่างชื่นชม  คือ ครูคอยติดตามให้กำลังใจ
7.ขั้นประเมินระหว่างการปฏิบัติการ คือ รายงานผลการปฏิบัติและความถูกต้อง
8.ขั้นปรับปรุง  คือ มีปัญหาในการทำงานให้เสนอแนะและนำไปปรับปรุงแก้ไข
9.ขั้นประเมินผลรวมด้วยความภาคภูมิใจ  คือ สรุปผลการทำงาน
2.กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
เหมาะสำหรับการสอนแนวคิดเรื่องที่อ่าน สอนค่านิยม สอนคำศัพท์   การเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการปฏิบัติ มีขั้นตอนดังนี้ 
1.ขั้นสังเกต 
2.ขั้นจำแนกความแตกต่าง 
3.ขั้นลักษณะร่วม  สรุปของประเด็นปัญหาเป็นวิธีการ หลักการ 
4.ระบุชื่อความคิดรวบยอด 
5.ขั้นทดสอบและนำไปใช้
3.กระบวนการสร้างความตระหนัก
เป็นกระบวนการที่ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจ เอาใจใส่และเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการสร้างควาตระหนัก ดังนี้ 
1.ขั้นสังเกต คือ ได้สัมผัสกับปัญหา 
2.ขั้นวิจารณ์  คือ เห็นผลดีและผลเสียของการแก้ไขปัญหา 
3.ขั้นสรุป  คือ  เห็นความสำคัญและพร้อมจะแก้ไข

4. กระบวนการปฏิบัติ
มุ่งให้ผู้เรียนปฏิบัติการจริงจนเกิดเป็นทักษะการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการปฏิบัติมีขั้นตอน ดังนี้ 
1.ขั้นสังเกตรับรู้ 
2.ขั้นทำตามแบบ 
3.ขั้นทำเองโดยไม่มีแบบ 
4.ขั้นฝึกให้ชำนาญ
5. กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เป็นกระบวนการทางปัญญาที่ผู้เรียนต้องใช้ความสามารถ การรับรู้ การจำ การวิจัย การวิเคราะห์ สังเคราะห์แบบประเมินอย่างมีเหตุผล การเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีขั้นตอนดังนี้ 
1.ขั้นสร้างความคิดรวบยอด 
2.ขั้นอธิบาย 
3.ขั้นการรับฟัง 
4.ขั้นเชื่อมโยงความสัมพันธ์ 
5.ขั้นวิจารณ์ 
6.ขั้นการสรุป

6. กระบวนการแก้ปัญหา
เป็นกระบวนการที่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นปัญหา เข้าใจ และหาทางหาคำตอบหรือแก้ปัญหาด้วยตนเอง การเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 
1.ขั้นสังเกตปัญหา 
2.ขั้นวิเคราะห์ปัญหา 
3.ขั้นสร้างทางเลือก 
4.ขั้นเก็บข้อมูลประเมินทางเลือก 
5.ขั้นสรุปการแก้ปัญหา

7.กระบวนการกลุ่ม
เป็นกระบวนการฝึกการทำงานกลุ่มโดยมีเป้าหมายการทำงานที่แน่ชัด การเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการทำงานกลุ่มมีขั้นตอนดังนี้  
1. ขั้นการมีผู้นำกลุ่ม 
2.ขั้นกำหนดจุดประสงค์และวิธีการ 
3.ขั้นวางแผนโดยรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิก 
4.ขั้นปฏิบัติงาน 
5.ขั้นติดตามผลและปรับปรุง 
6. ขั้นการประเมินผลและชื่นชมงาน
8. กระบวนการสร้างเจตคติ
เป็นกระบวนการสร้างความรู้สึกที่มีต่อสิ่งที่เรียน การเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการสร้างเจตคติ มีขั้นตอนดังนี้ 
1.ขั้นสังเกต 
2.ขั้นวิเคราะห์ 
3.ขั้นสรุป
9. กระบวนการสร้างค่านิยม
เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการยอมรับหรือเปลี่ยนความคิดจากค่านิยมเดิม สู่ค่านิยมใหม่ การเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการสร้างค่านิยม มีขั้นตอนดังนี้ 
1.ขั้นสังเกตตระหนัก  โดยให้กรณีตัวอย่างและจำแนกการกระทำที่ต่างกันได้ 
2.ขั้นประเมินเชิงเหตุผล  โดยวิเคราะห์การกระทำว่าเห็นด้วยหรือไม่เพราะเหตุใด 
3.ขั้นกำหนดค่านิยม  แสดงจุดยืนความเชื่อ พอใจพร้อมเหตุผล 
4.ขั้นแนวทางปฏิบัติ 
5.ขั้นปฏิบัติด้วยความชื่นชม
10. กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ
เป็นกระบวนการที่ใช้สอนในเรื่องที่มีเนื้อหาความรู้ ความจริง การเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ มีขั้นตอนดังนี้ 
1.ขั้นสังเกตและตระหนัก 
2.ขั้นวางแผนปฏิบัติ 
3.ขั้นลงมือปฏิบัติ 
4.ขั้นพัฒนาความรู้ความเข้าใจ 
5.ขั้นสรุป




วันศุกร์ที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2559

บทที่ 3 การวางแผนการสอน

ความหมายของการวางแผนการสอน
การวางแผนการสอน คือ  การเตรียมการในการจัดการเรียนการสอนในวิชาใดวิชาหนึ่ง ตั้งแต่การกำหนดวัตถุประสงค์การคัดเลือกเนื้อหา การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน การประเมินผล อย่างมีระบบระเบียบ และเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรในรูปแบบที่เป็นมาตรฐานกำหนด

ความสำคัญของการวางแผนการสอน
เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
ช่วยให้จัดกิจกรรมการเรียนการสอนได้ตรงตามหลักสูตร
ช่วยให้การสอนบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ
ช่วยทำให้เป็นการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณค่า
ช่วยให้การสอนดำเนินไปอย่างราบรื่นไม่สับสน
ช่วยให้ผู้สอนดำเนินการสอนได้ตรงตามเวลาที่กำหนด
ช่วยให้ผู้สอนสอนได้ตามจุดมุ่งหมายที่กำหนดไว้
ช่วยให้ผู้สอนมีความมั่นใจในการสอน
ช่วยให้ผู้สอนมีเอกสารเตือนความจำ
ช่วยให้ผู้เรียนเกิดความมั่นใจในการเรียนเกิดเจตคติที่ดีแก่ผู้สอน

1.ความหมายของแผนการสอน
คือ  การเตรียมการสอนเป็นลายลักษณ์อักษรล่วงหน้าหรือบันทึกการสอน ซึ่งกำหนดขั้นตอนการสอนที่ครูมุ่งหวังจะให้ผู้เรียนได้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ในเนื้อหาและประสบการณ์ ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้

2.ความสำคัญของแผนการสอน
แผนการสอน คือ แนวทางในการใช้หลักสูตรของครู ถ้าไม่มีการจัดทำแผนการสอนแล้ว การใช้หลักสูตรหรือการจัดการเรียนการสอนก็จะเป็นไปอย่างไม่มีจุดหมายปลายทาง ก่อให้เกิดความเสียเวลาหรือเกิดความบกพร่องในการใช้หลักสูตร อันจะส่งผลต่อความล้มเหลวของหลักสูตรในที่สุด

3.องค์ประกอบของแผนการสอน
3.1วิชา หน่วยที่สอน
3.2จุดประสงค์การสอน
3.3เนื้อหา
3.4กิจกรรมการเรียนการสอน
3.5สื่อการเรียนการสอน
3.6การวัดและประเมินผล

4.ขั้นตอนในการเขียนแผนการสอน
4.1ศึกษาและจัดเตรียมทรัพยากรพื้นฐาน
4.2ศึกษาและวิเคราะห์หลักสูตรในรายวิชาที่สอน
4.3ศึกษาพื้นฐานผู้เรียน
4.4สำรวจทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมต่างๆ
4.5ย่อเนื้อหา ย่อยวัตถุประสงค์การเรียนรู้ และจัดคาบเรียนให้เหมาะสมกับการสอน
4.6ศึกษาแนวการสอนจากครูมือครูต่างๆ
4.7เขียนแผนการสอน

5. หลักการเขียนแผนการสอน
5.1ชื่อเรื่อง หรือชื่อหัวข้อเรื่องย่อย
5.2จำนวนคาบ
5.3สาระสำคัญแนวคิดสำคัญหรือความคิดรวบยอด
- เป็นประโยคสมบูรณ์และได้ใจความ
- ใช้คำกะทัดรัดชัดเจนไม่ฟุ่มเฟือย
- มีใจความตรงกับเนื้อหา
5.4จุดประสงค์ต้องเขียนเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
5.5เนื้อหา
5.6กิจกรรมการเรียนการสอน   เช่น ครูบรรยายประกอบการซักถาม
5.7สื่อการเรียนการสอน
5.8การวัดและประเมินผล  หลักในการเขียนการวัดและประเมินผล คือ
- เขียนเรียงตามลำดับวิธีการวัดผลที่ใช้ก่อนหลัง
- เขียนให้สอดคล้องตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
- เขียนให้สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน

6.รูปแบบของแผนการสอน
6.1แบบเรียงหัวข้อ  รูปแบบนี้จะเขียนเรียงลำดับหัวข้อก่อนหลังโดยไม่ต้องตีตาราง
6.2แบบกึ่งตาราง  รูปแบบนี้จะเขียนเป็นช่องๆตามหัวข้อที่กำหนด สะดวกในการอ่าน ทำให้เป็นความสัมพันธ์ของแต่ละหัวข้ออย่างชัดเจน

7.ลักษณะของการวางแผนการสอน
7.1การวางแผนการสอนระยะยาว
เป็นการวางแผนการสอนแบบหยาบๆ ตลอดภาคเรียนหรือตลอดปีการศึกษา

7.2การวางแผนการสอนระยะสั้น
เป็นการวางแผนการสอนประจำวันเป็นรายคาบที่ทำการสอนหรือเป็นรายหัวข้อเนื้อหา ประกอบด้วย
-หัวข้อเรื่อง
-วัตถุประสงค์ทั่วไป
-วัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรม
-เนื้อหาสาระ
-กิจกรรมการเรียนการสอน
-ใบงาน
-การวัดและการประเมินผล

7.3กระบวนการวางแผนการสอน
ศึกษาหลักสูตร วัตถุประสงค์ทั่วไป  ขอบเขตเนื้อหา
ศึกษาผู้เรียน
กำหนดจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
เลือกวิธีการสอนตลอดจนสื่อการเรียนการสอน
ดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอน
ประเมินผลการเรียนการสอน
ศึกษาข้อมูลย้อนกลับเพื่อนำมาปรับปรุงการสอนต่อไป

ลักษณะของแผนการสอนที่ดี
สอดคล้องกับหลักสูตร
นำไปใช้สอนได้จริงและมีประสิทธิภาพ
เขียนอย่างฤตามหลักการและรูปแบบ เหมาะสมกับผู้เรียนและเวลาที่กำหนด
มีความกระจ่าง ชัดเจน ทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่ายและเข้าใจตรงกัน
มีรายละเอียดมากพอที่จะทำให้ผู้อ่านสามารถนำไปใช้สอนได้
ทุกหัวข้อในแผนการสอนมีความสอดคล้องสัมพันธ์กัน

8.ข้อคำนึงในการเขียนแผนการสอน
-เขียนให้ชัดเจน
-ใช้ภาษาเขียนที่สื่อความหมายได้เข้าใจตรงกัน
-เขียนให้สอดคล้องสัมพันธ์กันในทุกหัวข้อ
-เขียนให้เป็นระเบียบสะอาดอ่านง่าย
-เขียนในสิ่งที่สามารถปฏิบัติได้จริง และสอนตามที่ได้วางแผนไว้