วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 6 จุดประสงค์การสอน

จุดประสงค์การสอน
ความหมายของจุดประสงค์การสอน
คือ ข้อความที่ระบุผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนในแต่ละหน่วยที่เรียน สามารถวัดได้อย่างชัดเจน

ความสำคัญของจุดประสงค์การสอน
1. เป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางในการสอนว่าจะสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
2. เป็นสิ่งกำหนดแนวทางในการเลือกและการกำหนดเนื้อหาและการจัดลำดับเนื้อหา
3. เป็นสิ่งกำหนดแนวทางวิธีการสอนและจัดลำดับขั้นตอนการสอน
4. เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนให้สอดคล้องกับวิธีสอนที่ใช้
5. เป็นเครื่องกำหนดการวัดผล
6. ทำให้ผู้เรียนทราบเป้าหมายของการเรียน
7. ทำให้ผู้เรียนทราบกิจกรรมในการเรียนการสอน
8. ทำให้ผู้เรียนทราบแนวทางการประเมินผลการเรียนการสอน

ประเภทของจุดประสงค์การสอน
1. จุดประสงค์ทั่วไป (General Objective)
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective)

ลักษณะของจุดประสงค์ทั่วไป
คือ จุดประสงค์ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนควรจะเกิดการเรียนรู้อะไรบ้างหลังจากที่ผ่านการเรียนการสอนจุดประสงค์ทั่วไปเป็นจุดประสงค์รายวิชาที่เขียนไว้อย่างกว้างๆ เช่น ให้เกิดความรู้ เกิดความเข้าใจ

การเขียนจุดประสงค์ทั่วไป จำแนกเป็น 3 ด้าน คือ
1. พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
2. จิตพิสัย (Affective Domain)
3. ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)

พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับความสามารถทางด้านสติปัญญา แบ่งเป็น 6 ระดับ คือ
1. จำ
2. ความเข้าใจ
3. การนำไปใช้
4. การวิเคราะห์
5. การประเมินค่า
6. การสร้างสรรค์

จิตพิสัย (Affective Domain)
เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับด้านจิตใจ ความรู้สึก แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1. การรับรู้
2. การตอบสนอง
3. การสร้างค่านิยม
4. การจัดรวบรวม
5. การสร้างลักษณะนิสัยจากค่านิยม

ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับทักษะในการเคลื่อนไหวการใช้อวัยวะต่างๆของร่างกาย การเกิดทักษะจากง่ายไปหายาก
1. การเลียนแบบ
2. การทำตามข้อกำหนด
3. การทำอย่างมีคุณภาพ
4. การผสมผสาน
5. การปรับตัว

ลักษณะจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
คือ เป็นจุดประสงค์ที่บ่งเฉพาะเจาะลงไปว่าหลังจากการเรียนการสอนแล้วผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรมที่สังเกตุได้ วัดได้ คำที่ใช้เป็นคำกิริยาที่บ่งให้เห็นการกระทำที่ผู้สอนสังเกตได้

องค์ประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. พฤติกรรมที่สังเกตได้ของผู้เรียน หมายถึง พฤติกรรมที่ผูสอนคาดหวังและสังเกตได้ชัดเจน คำกิริยาที่ผู้เรียนแสดงออกมาสังเกตได้ เช่น บอก เล่า อธิบาย
2. สถานการณ์หรือเงื่อนไข หมายถึง ข้อความที่ระบุถึงสถานการณ์ที่ทำให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมออกมา
3. เกณฑ์ หมายถึง ข้อความที่ระบุระดับความสามารถของพฤติกรรม

หลักทั่วไปในการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. เขียนสั้น ได้ใจความ
2. ต้องระบุพฤติกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับผู้เรียน เมื่อเรียนจบบทเรียน
3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1 ข้อ จะระบุพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเพียงพฤติกรรมเดียว
4. พฤติกรรมที่ระบุในจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมต้องเป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้เป็นรูปธรรม
5. คำที่ใช้เขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องเป็นคำที่มีลักษณะชี้เฉพาะเจาะจง

ประโยชน์ของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนรู้ว่าจะต้องสอนและเรียน เพื่อให้เกิดพฤติกรรมอะไร
2. ช่วยให้ผู้สอนเตรียมกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีสอนและเตรียมอุปกรณ์การสอนเพื่อให้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ช่วยให้ครูผู้สอนมีหลักเกณฑ์ในการวัดและประเมินผลในการสอนแต่ละครั้งว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
4. เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนของผู้เรียน

การเปรียบเทียบ
จุดประสงค์ทั่วไป               จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
รู้                                   บอกชื่อได้ บอกความหมายได้
เข้าใจ                             อธิบายได้ แปลความได้ ยกตัวอย่างได้
นำไปใช้                           แสดงได้ สาธิตได้ ปฏิบัติได้
วิเคราะห์                          จำแนกได้ แยกประเภทได้ แบ่งกลุ่มได้
สังเคราะห์                        จัดระเบียบใหม่ได้ สร้างรูปแบบใหม่ได้
ประเมินค่า                        ตัดสินได้ เปรียบเทียบได้

วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 5 วิธีการสอน (ต่อ)

วิธีการสอนแบบศูนย์การเรียนรู้
คือ การสอนที่เน้นความสำคัญของนักเรียนหรือยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลางและใช้เทคนิคการจัดการเรียนการสอนที่ใช้สื่อประสมและกระบวนการกลุ่มเป็นสำคัญ 

วัตถุประสงค์
วิธีสอนโดยใช้ศูนย์การเรียน เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้ศึกษาค้นคว้าและเรียนรู้ด้วยตนเอง

ความมุ่งหมายวิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน
  1. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
  2. เพื่อฝึกการทำงานเป็นกลุ่ม รู้จักเคารพสิทธิและความคิดเห็นของผู้อื่น
  3. เพื่อฝึกความรับผิดชอบ และทำกิจกรรมตามความถนัด ความสนใจ และความสามารถของตน
องค์ประกอบของศูนย์การเรียน
  • บทบาทของผู้สอน
  • เป็นผู้กำกับการเรียนรู้
  • เป็นผู้ประสานงานกิจกรรมการเรียน
  • บันทึกการพัฒนาของผู้เรียนแต่ละคน
  • เป็นผู้เตรียมกิจกรรมและสื่อการสอนเพิ่มเติม เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพที่เปลี่ยนแปลงไป
  • บทบาทของผู้เรียน
  • ทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อปฏิบัติในการเรียนแบบศูนย์การเรียน
  • ปฏิบัติกิจกรรมตามคำสั่งที่ได้รับจากศูนย์การเรียนแต่ละศูนย์อย่างเคร่งครัด
  • การศึกษาให้ครบทุกศูนย์กิจกรรม
  • ให้ความร่วมมือกัลกลุ่มในการประกอบกิจกรรม รวมทั้งการเป็นผู้นำหรือผู้ตามที่ดีด้วย
  • จุดการสอน
  • คู่มือครู
  • แบบฝึกปฏิบัติสำหรับผู้เรียน
  • สื่อสำหรับศูนย์กิจกรรม
  • แบบทดสอบสำหรับการประเมินผล
  • การจัดห้องเรียน
  • จัดเป็นกลุ่มสำหรับให้ผู้เรียนประกอบกิจกรรมตามปกติ โดยวิธีการดังกล่าวก็อาจจัดง่ายๆ โดยจัดเก้าอี้ 4-6 ตัว มารวมกันเป็นกลุ่มเรียกว่า ศูนย์กิจกรรม โดยนิยมจัดไว้กลางห้อง
  • จัดกลุ่มตามความสนใจ จัดตามกลุ่มวิชาโดยให้จัดโต๊ะและเก้าอี้เป็นกลุ่มๆ วางเข้าชิดผนัง
ขั้นตอนของการสร้างชุดการสอนแบบศูนย์การเรียน
  1. เลือกเรื่องที่จะสอน
  2. กำหนดมโนทัศน์หรือความคิดรวบยอด
  3. กำหนดจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม
  4. กำหนดกิจกรรมการเรียนให้สอดคล้องกับหัวข้อเรื่อง
  5. กำหนดสื่อการสอน
ขั้นตอนการสอนวิธีการสอนแบบศูนย์การเรียน
  1. ขั้นทดสอบก่อนเรียน
  2. ขั้นนำสู่บทเรียน
  3. ขั้นประกอบกิจกรรมการเรียน
  4. ขั้นสรุปบทเรียน
  5. ขั้นประเมินผลการเรียน
ข้อดี
  1. ส่งเสริมการทำงานเป็นทีม
  2. สร้างบรรยากาศแห่งเสรีภาพ
  3. ได้ทราบถึงพัฒนาการของผู้เรียน
  4. ผู้เรียนมีความตื่นตัวตลอดเวลา
วิธีการสอนแบบทัศนศึกษา
เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงในเรื่องที่เรียน ได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริงได้ใช้แหล่งชุมชนให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้

วัตถุประสงค์การสอนแบบทัศนศึกษา
วิธีการสอนโดยใช้การไปทัศนศึกษาเป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์ตรงในเรื่องได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริงได้ใช้แหล่งชุมชนให้เป็นประโยชน์ตาอการเรียนรู้

องค์ประกอบสำคัญของวิธีสอน
  1. มีการวางแผนร่วมกันระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในเรื่องวัตถุประสงค์
  2. มีการเดินทางออกไปยังสถานที่เป้าหมายซึ่งอยู่ภายนอก
  3. มีกระบวนการในการศึกษาสิ่งที่ต้องการเรียนรู้ในสถานที่นัน้
  4. สรุปผลการเรียนรู้
เทคนิคและข้อเสนอแนะ
  1. การวางแผน
  2. การเดินทางไปทัศนศึกษา
  3. การศึกษาในสถานที่เป้าหมาย
  4. การเดินทางกลับ และสรุปบทเรียน
ข้อดี
  1. เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้รับประสบการณ์โดยตรง ได้เรียนรู้สภาพความเป็นจริง
  2. เป็นวิธีสอนที่ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรท้องถิ่นและชุมชนให้เป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้
  3. เป็นวิธีสอนที่เอื้อให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะต่างๆ
  4. เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เปลี่ยนบรรยากาศในการเรียนรู้
วิธีการสอนโดนใช้กรณีตัวอย่าง
การสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างนี้ มิได้มุ่งที่คำตอบใดคำตอบหนึ่ง แต่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นคำตอบและเหตุผลที่หลากหลาย อันจะช่วยให้การตัดสินใจมีความรอบครอบขึ้น

วัตถุประสงค์
วิธีการสอนโดยใช้กรณีตัวอย่างเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนฝึกฝนการเผชิญและแก้ปัญหาโดยไม้ต้องรอให้เกิดปัญหาจริง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนวิเคราะห์ และเรียนรู้ความคิดของผู้เรียนช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น

องค์ประกอบสำคัญของวิธีสอน
  1. มีกรณีเรื่องที่คล้ายกับเหตุการณ์จริง
  2. มีประเด็นคำถามให้คิดพิจารณาหาคำตอบ
  3. มีคำตอบที่หลากหลาย
  4. มีการอภิปราย
ขั้นตอนสำคัญของการสอน
  1. ผู้สอน/ผู้เรียนนำเสนอกรณีตัวอย่าง
  2. ผู้เรียนศึกษากรณีตัวอย่าง
  3. ผู้เรียนอภิปรายประเด็นคำถามเพื่อหาคำตอบ
  4. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายคำตอบ
  5. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาวิธีการแก้ไขปัญหาของผู้เรียน และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับ
เทคนิคและข้อเสนอแนะ
  1. การเตรียมการ
  2. การนำเสนอกรณีตัวอย่าง
  3. การศึกษากรณีตัวอย่างและการอภิปราย
ข้อดีและข้อจำกัด
  1. เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดแก้ปัญหา ช่วยให้ผู้เรียนมีมุมมองที่กว้างขึ้น
  2. เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เผชิญปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานการณ์จริงและได้ฝึกแก้ปัญหาโดยไม่ต้องเสี่ยงกับผลที่จะเกิดขึ้น
  3. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียน ส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียน และส่งเสริมการเรียนรู้จากกันและกัน
  4. เป็นวิธีการสอนที่ให้ผลดีมากสำหรับผู้เรียนที่มีความรู้และประสบการณ์หลากหลายสาขา
วิธีการสอนแบบใช้เกม
จุดเน้นของเกมอยู่ที่การเรียนรู้ยุทธวิธีต่างๆ ที่จะเอาชนะอุปสรรค เพื่อจะไปให้ถึงเป้าหมาย ผู้สอนจำเป็นจะต้องเข้าใจจุดเน้นของการใช้เกมในการสอนเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์
วิธีสอนโดยใช้เกม เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้เรื่องต่างๆ อย่างสนุกสนาน และท้าทายความสามรถโดยผู้เนียนเป็นผู้เล่นเอง ทำให้ได้รับประสบการณ์ตรง เป็นวิธีการที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

องค์ประกอบสำคัญของวิธีสอน
  1. มีเกมและกติกาการเล่น
  2. มีการเล่นเกมตามกติกา
  3. มีการอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่น วิธีการเล่น และพฤติกรรมการเล่นของผู้เล่นหลังการเล่น
ขั้นตอนสำคัญของการสอน
  1. ผู้สอนนำเสนอเกม ชี้แจงวิธีการเล่น และกติกาการเล่น
  2. ผู้เรียนเล่นเกมตามกติกา
  3. ผู้สอนและผู้เรียนอภิปรายเกี่ยวกับผลการเล่นและวิธีการหรือพฤติกรรมการเล่นของผู้เรียน
ข้อดีและข้อจำกัด
  1. เป็นวิธีการสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และเกิดการเรียนรู้จากการเล่น
  2. เป็นวิธีการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ โดยการเห็นประจักษ์แจ้งด้วยตนเอง ทำให้การเรียนรู้นั้นมีความหมายและอยู่คงทน
  3. เป็นวิธีสอนที่ผู้สอนไม่เหนื่อยแรงมากขณะสอนและผู้เรียนชอบ
วิธีการสอนแบบMIAP
กระบวนการเรียนการสอน
M-I-A-P
Motivation ขั้นสนใจปัญหา
Information ขั้นศึกษาข้อมูล
Application ขั้นพยายาม
Progress ตรวจสอบ

ขั้นสนใจปัญหา M
Motivation เป็นขั้นนำเข้าสู่บทเรียนด้วยความสนใจ ความมุ่งหมายของขั้นสนใจปัญหา
  • กระตุ้นความสนใจของผู้เรียน
  • รักษาความตั้งใจในระหว่างบทเรียน
  • นำผู้เรียนเข้าสู่เรื่องที่จะเรียนด้วยความตั้งใจ
ปัจจัยที่ทำให้เกิดความสนใจ
Motivation 
  • ความต้องการในการประกอบอาชีพ
  • ใจรักวิชา
  • ค่านิยมในวิชา
  • ค่านิยมในตัวผู้สอน
  • ต้องการขั้นคะแนน
  • ความตั้งใจในการสอน
  • การส่งเสริมกำลังใจจากความสำเร็
หลักในการสร้างขั้นสนใจปัญหา
  • สร้างปัญหาให้ผู้เรียนได้เห็นจริง แล้วเกิดความสนใจ
  • ให้ผู้เรียนได้มีส่วนร่วม เสนอแนะและถกปัญหานั้น
  • ปัญหาที่เสนอต้องตรงและเกี่ยวข้องกับบทเรียน
  • ใช้เวลานำเข้าสู่บทเรียนสั้นๆ
  • จบขั้นปัญหาด้วยหัวเรื่องของบทเรียนที่จะเรียน
การสร้างขั้นสนใจปัญห
  • นำเข้าสู่บทเรียนด้วยคำถามที่น่าสนใจ
  • แสดงชิ้นงานสำเร็จหรือผลงานที่เกี่ยวข้องกับบทเรียนโดยตรง
  • กระตุ้นให้แสดงการถกปัญหาสั้นๆกันในชั้นเรียน
  • เสนอปัญหาโดยใช้สื่อช่วยสอน
  • สาธิต ปฏิบัติการทำงาน หรือทดลอง
  • เล่าเรื่องจากประสบการณ์ให้เกิดความต้องการเรียนหรือประโยชน์ในการเรียน
ขั้นศึกษาข้อมูล I
Information เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้รับรู้เนื้อหาบทเรียนที่เรียน โดยมีหลักการสำคัญในการให้เนื้อหาดังนี้
  • เนื้อหาแตกย่อย และเรียงลำดับที่เหมาะสม
  • เนื้อหามัเหตุผล/หลักการ ส่งเสริมความสนใจ
เทคนิคและวิธีสอน
เป็นวิธีการให้เนื้อหาข้อมูลแก่ผู้เรียน จำแนกตามลักษณะกิจกรรมของผู้สอน-ผู้เรียน
  • ผู้สอนมีกิจกรรมสูง บรรยาย สาธิต เป็นต้น
  • ผู้สอนและผู้เรียนมีกิจกรรมร่วมกัน ถามตอบ อภิปราย สืบสวน เป็นต้น
  • ผู้เรียนมีกิจกรรมสูง ศึกษาด้วยตนเอง เป็นต้น 
ขั้นพยายาม A
Application 
เป็นขั้นตอนที่ให้ผู้เรียนได้แสดงออก ซึ่งพฤติกรรมจากการเรียนรู้ ด้วยการทำแบบฝึกหัด หรือลงมือปฏิบัติงานจริง

ความมุ่งหมายของขั้นพยายาม
  1. ให้ผู้เรียนได้ทดลอง ใช้เนื้อหา ความรู้ ทักษะ ที่ได้รับมาจากขั้นศึกษาข้อมูล
  2. ก่อให้เกิดการตรวจปรับ
  3. ป้องกันการเลื่อน/การลืม
  4. ส่งถ่ายความรู้/ฝึกแก้ปัญหา
ขั้นสำเร็จผล P
Progress 
  • เป็นขั้นตอนในการตรวจผลความสำเร็จของการเรียน โดยตรวจจากผลของการกระทำที่ทำไว้ในระหว่างขั้นพยายาม
  • ตรวจแบบฝึกหัด/งานฝึกหัด
  • ขั้นสำเร็จผล
  • ไม่ใช้การตรวจสอบหรือวัดผลการเรียน
ความมุ่งหมายของขั้นสำเร็จผล
  1. ตัดสนใจได้
  2. ให้ผู้เรียนแน่ใจในผลสำเร็จของตน
  3. เสริมกำลังใจผู้เรียน
ขั้นตอนการสอน MIAP ภาคทฤษฎี
M = ปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุด คือ ปลาบึก
l = ปลาบึกอาศัยในแม่น้ำโขง
A = แบบฝึกหัด,แบบทดสอบ
P = ข้อ ก. ใครถูกบ้าง