วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559

บทที่ 6 จุดประสงค์การสอน

จุดประสงค์การสอน
ความหมายของจุดประสงค์การสอน
คือ ข้อความที่ระบุผลที่ต้องการให้เกิดขึ้นกับผู้เรียนในแต่ละหน่วยที่เรียน สามารถวัดได้อย่างชัดเจน

ความสำคัญของจุดประสงค์การสอน
1. เป็นสิ่งที่กำหนดทิศทางในการสอนว่าจะสอนให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
2. เป็นสิ่งกำหนดแนวทางในการเลือกและการกำหนดเนื้อหาและการจัดลำดับเนื้อหา
3. เป็นสิ่งกำหนดแนวทางวิธีการสอนและจัดลำดับขั้นตอนการสอน
4. เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนให้สอดคล้องกับวิธีสอนที่ใช้
5. เป็นเครื่องกำหนดการวัดผล
6. ทำให้ผู้เรียนทราบเป้าหมายของการเรียน
7. ทำให้ผู้เรียนทราบกิจกรรมในการเรียนการสอน
8. ทำให้ผู้เรียนทราบแนวทางการประเมินผลการเรียนการสอน

ประเภทของจุดประสงค์การสอน
1. จุดประสงค์ทั่วไป (General Objective)
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objective)

ลักษณะของจุดประสงค์ทั่วไป
คือ จุดประสงค์ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้ทราบว่าผู้เรียนควรจะเกิดการเรียนรู้อะไรบ้างหลังจากที่ผ่านการเรียนการสอนจุดประสงค์ทั่วไปเป็นจุดประสงค์รายวิชาที่เขียนไว้อย่างกว้างๆ เช่น ให้เกิดความรู้ เกิดความเข้าใจ

การเขียนจุดประสงค์ทั่วไป จำแนกเป็น 3 ด้าน คือ
1. พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
2. จิตพิสัย (Affective Domain)
3. ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)

พุทธิพิสัย (Cognitive Domain)
เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับความสามารถทางด้านสติปัญญา แบ่งเป็น 6 ระดับ คือ
1. จำ
2. ความเข้าใจ
3. การนำไปใช้
4. การวิเคราะห์
5. การประเมินค่า
6. การสร้างสรรค์

จิตพิสัย (Affective Domain)
เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับด้านจิตใจ ความรู้สึก แบ่งเป็น 5 ด้าน ได้แก่
1. การรับรู้
2. การตอบสนอง
3. การสร้างค่านิยม
4. การจัดรวบรวม
5. การสร้างลักษณะนิสัยจากค่านิยม

ทักษะพิสัย (Psychomotor Domain)
เป็นจุดประสงค์ที่เกี่ยวกับทักษะในการเคลื่อนไหวการใช้อวัยวะต่างๆของร่างกาย การเกิดทักษะจากง่ายไปหายาก
1. การเลียนแบบ
2. การทำตามข้อกำหนด
3. การทำอย่างมีคุณภาพ
4. การผสมผสาน
5. การปรับตัว

ลักษณะจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
คือ เป็นจุดประสงค์ที่บ่งเฉพาะเจาะลงไปว่าหลังจากการเรียนการสอนแล้วผู้เรียนสามารถแสดงพฤติกรรมที่สังเกตุได้ วัดได้ คำที่ใช้เป็นคำกิริยาที่บ่งให้เห็นการกระทำที่ผู้สอนสังเกตได้

องค์ประกอบของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. พฤติกรรมที่สังเกตได้ของผู้เรียน หมายถึง พฤติกรรมที่ผูสอนคาดหวังและสังเกตได้ชัดเจน คำกิริยาที่ผู้เรียนแสดงออกมาสังเกตได้ เช่น บอก เล่า อธิบาย
2. สถานการณ์หรือเงื่อนไข หมายถึง ข้อความที่ระบุถึงสถานการณ์ที่ทำให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมออกมา
3. เกณฑ์ หมายถึง ข้อความที่ระบุระดับความสามารถของพฤติกรรม

หลักทั่วไปในการเขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. เขียนสั้น ได้ใจความ
2. ต้องระบุพฤติกรรมที่คาดว่าจะเกิดขึ้นกับผู้เรียน เมื่อเรียนจบบทเรียน
3. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม 1 ข้อ จะระบุพฤติกรรมที่เกิดขึ้นเพียงพฤติกรรมเดียว
4. พฤติกรรมที่ระบุในจุดประสงค์เชิงพฤติกรรมต้องเป็นพฤติกรรมที่สังเกตได้เป็นรูปธรรม
5. คำที่ใช้เขียนจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม จะต้องเป็นคำที่มีลักษณะชี้เฉพาะเจาะจง

ประโยชน์ของจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
1. เพื่อให้ผู้สอนและผู้เรียนรู้ว่าจะต้องสอนและเรียน เพื่อให้เกิดพฤติกรรมอะไร
2. ช่วยให้ผู้สอนเตรียมกิจกรรมการเรียนการสอน วิธีสอนและเตรียมอุปกรณ์การสอนเพื่อให้สอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ช่วยให้ครูผู้สอนมีหลักเกณฑ์ในการวัดและประเมินผลในการสอนแต่ละครั้งว่าบรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้หรือไม่
4. เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนของผู้เรียน

การเปรียบเทียบ
จุดประสงค์ทั่วไป               จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
รู้                                   บอกชื่อได้ บอกความหมายได้
เข้าใจ                             อธิบายได้ แปลความได้ ยกตัวอย่างได้
นำไปใช้                           แสดงได้ สาธิตได้ ปฏิบัติได้
วิเคราะห์                          จำแนกได้ แยกประเภทได้ แบ่งกลุ่มได้
สังเคราะห์                        จัดระเบียบใหม่ได้ สร้างรูปแบบใหม่ได้
ประเมินค่า                        ตัดสินได้ เปรียบเทียบได้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น