วันเสาร์ที่ 17 กันยายน พ.ศ. 2559

บทที่ 4 กิจกรรมการเรียนการสอน

ความหมายของกิจกรรมการเรียนการสอน
หมายถึง การกระทำกิจกรรมใดๆก็ตามที่เกิดขึ้นระหว่างบทเรียน อันเนื่องมาจากการที่ผู้สอนสื่อความหมายกับผู้เรียนโดยใช้สื่อชนิดต่างๆ  เพื่อติดต่อสื่อ ความหมายเกี่ยวกับเนื้อหาสาระที่ผู้เรียนต้องศึกษาตามหลักสูตรที่วางไว้

ความสำคัญของกิจกรรมการเรียนการสอน
1.ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจบทเรียนได้ดี
2.ช่วยส่งเสริมความเจริญงอกงามและพัฒนาการของเด็ก
3.ช่วยเล้าความสนใจของเด็ก
4.ช่วยขยายความรู้และประสบการณ์ของเด็กให้กว้างขึ้น
5.ช่วยเปิดโอกาสให้นักเรียนประสบความสำเร็จ
6.ช่วยปลูกฝังทัศนคติที่ดี
7.ช่วยส่งเสริมทักษะในด้านต่างๆ
8.ช่วยปลูกฝังและส่งเสริมความคิดริเริ่ม
9.ช่วยปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตย
10.ช่วยส่งเสริมความรับผิดชอบ
11.ช่วยส่งเสริมการทำงานเป็นหมู่คณะ
12.ช่วยให้เห็นความแตกต่างระหว่างบุคคล

จุดประสงค์ของกิจกรรมการเรียนการสอน
1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการพัฒนาทางร่างกาย  อารมณ์  สังคมและสติปัญญา
2. เพื่อสนองความสามารถ  ความถนัด ความสนใจของผู้เรียน
3. เพื่อสร้างบรรยากาศการเรียนการสอน
4. เพื่อสนองเจตนารมณ์ของหลักสูตร  ให้ผู้เรียนได้คิดเป็น แก้ปัญหาและเกิดทักษะกระบวนการ
5. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนกล้าแสดงออกและมีส่วนร่วมในการเรียนการสอน

หลักการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
คือ  แนวทางในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่ทำให้ผู้เรียนประสบความสำเร็จในการเรียนตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดไว้ 
1.สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของหลักสูตร
2.สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาบทเรียน
3.จัดกิจกรรมที่แสดงถึงความชัดเจนของขั้นตอนการเรียนรู้
4.สอดคล้องและเหมาะสมกับวัย ความสามารถและความสนใจของผู้เรียน
5.สอดคล้องกับลักษณะของเนื้อหา
6.จัดกิจกรรมให้มีลำดับขั้นตอน
7.น่าสนใจ โดยการใช้สื่อการสอนที่เหมาะสม
8.ใช้เทคนิควิธีสอนที่หลากหลาย
9.มีบรรยากาศที่เป็นกันเอง

ประเภทของกิจกรรมการเรียนการสอน
1.กิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  
2.กิจกรรมการเรียนการสอนที่ยึดครูเป็นศูนย์กลาง 

กิจกรรมการเรียนการสอนที่ใช้ทั่วไป
1.การรายงานหน้าชั้นเรียน
2.สถานการณ์จำลอง
3.การสัมภาษณ์
4.การเชิญวิทยากร
5.การเล่านิทาน

ขั้นตอนของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
1.การนำเข้าสู่บทเรียน
2.ขั้นสอน
3.ขั้นสรุปและวัดผล

การนำเข้าสู่บทเรียน
คือ  ทักษะที่ครูใช้ในการจัดกิจกรรมก่อนเริ่มสอน เพื่อเป็นการเตรียมนักเรียนให้มีความคิดว่ากำลังเรียนเรื่องอะไร สามารถนำเอาความรู้และทักษะที่นักเรียนมีอยู่เดิมมาสัมพันธ์กับบทเรียนที่ครูสอนได้  จะใช้เวลาประมาณ  5-15 นาที  สำหรับการนำเข้าสู่บทเรียนวิธีนำเข้าสู่บทเรียน  มีหลายวิธี  ดังนี้
1.ใช้อุปกรณ์ที่สัมพันธ์กับเนื้อหา
2.ใช้คำถาม  เพื่อเชื่อมประสบการณ์เดิมของนักเรียนไปสู่ประสบการณ์ใหม่
3.ให้นักเรียนสาธิตกิจกรรมที่สัมพันธ์กับบทเรียน
4.เล่านิทาน  หรือ  เรื่องราวเหตุการณ์ต่างๆ  ให้สัมพันธ์กับเรื่องที่เรียน
5.ร้องเพลง  ให้สัมพันธ์กับเรื่องที่จะเรียน
6.ตั้งปัญหาหรือเล่นเกมทายปัญหา
7.การแสดงบทบาทสมมติ หมายถึง  การที่ครูกำหนดสถานการณ์หรือเงื่อนไขให้แล้วนักเรียนคิดว่าจะทำอย่างไร

ขั้นสอน
เป็นขั้นการสอนที่ครูผู้สอนจะต้องสอนให้ผู้เรียนได้มีความรู้ ความเข้าใจ ได้ตรงตามเนื้อหาสาระที่จะสอน เพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ที่กำหนดไว้

ขั้นสรุปและวัดผล
การสรุป  เป็นการสรุปเนื้อหาที่เรียนมาทั้งหมด สรุปทั้งด้าน ความรู้ ความคิด เจตคติและทักษะการนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน  ในการสรุปนั้นผู้สอนอาจสรุปเอง หรือผู้เรียนเป็นผู้สรุป หรือผู้สอนและผู้เรียนช่วยกันสรุป 

ขั้นสรุปและวัดผล
การวัดผลการเรียนรู้  โดยใช้วิธีการถามตอบ การทำแบบฝึกหัด หรือการทำแบบทดสอบ

วิธีสอน

ความหมายของวิธีสอน
หมายถึง  การจัดกิจกรรมต่างๆ ที่เหมาะสมแก่ผู้เรียนเพื่อให้เกิดความเจริญงอกงามและพัฒนาไปในทางที่พึ่งปรารถนาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษา

ความสำคัญของวิธีสอน
1.ต้องเหมาะสมกับเนื้อหาและผู้เรียน
2.สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการสอน
3.ผสมผสานวิธีการสอนแบบต่างๆ

ประเภทของวิธีสอน
1. จำแนกโดยใช้จำนวนผู้เรียน   จำแนกได้ 3 ประเภท
1.1 การสอนเป็นกลุ่มใหญ่  คือ  มีจำนวนผู้เรียนมาก ผู้สอนมีบทบาทเกือบทั้งหมด  เช่น การสอนแบบบรรยาย
1.2 การสอนเป็นกลุ่มย่อย  คือ  มุ่งเน้นให้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด  เช่น การสอนแบบอภิปราย  การสอนแบบบทบาทสมมุติ
1.3 การสอนที่เป็นรายบุคคล คือ  ผู้เรียนสามารถเลือกวิธีเรียนที่เหมาะสมกับความสนใจและความสามารถของผู้เรียน
2.จำแนกโดยปริมาณของบทบาทผู้สอนและบทบาทของผู้เรียนเป็น
เกณฑ์จำแนกเป็น  ประเภท
2.1 วิธีสอนแบบครูเป็นศูนย์กลาง คือ วิธีการสอนที่ครูผู้สอนเป็นผู้จัดและดำเนินกิจกรรมการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ เช่น วิธีการสอนแบบบรรยาย  วิธีการสอนแบบสาธิต  วิธีการสอนแบบใช้คำถาม
2.2 วิธีสอนแบบนักเรียนเป็นศูนย์กลาง  คือ วิธีการสอนที่ผู้เรียนเป็นผู้ปฏิบัติ กิจกรรมการเรียนการสอนส่วนใหญ่ จะศึกษาค้นคว้าด้วยตัวเองเช่น การสอนแบบปฏิบัติการการสอนโดยแสดงบทบาทสมมุติ
2.3วิธีการสอนแบบผู้สอนและผู้เรียนมีกิจกรรมร่วมกัน  คือ  เป็นการสอนที่ผู้สอนและผู้เรียนมีบทบาทพอๆกันมีการปฏิบัติกิจกรรมร่วมกัน เช่น  การสอนแบบอภิปราย  การสอนแบบสัมมนา
2.4  การสอนโดยใช้อุปกรณ์พิเศษ  คือ  บทบาทการสอนทั้งหมดจะอยู่ที่โสตทัศนอุปกรณ์ที่ใช้  เช่น  ภาพยนตร์  คอมพิวเตอร์  สไลด์ประกอบเสียง

วิธีการสอนที่ใช้ในกิจกรรมการเรียนการสอน
1.การสอนแบบบรรยาย  (Lecture Method)  เป็นการสอนที่ผู้สอนบอกเล่าอธิบายเนื้อหา  เตรียมการศึกษาค้นคว้าเนื้อหามาถ่ายทอดให้ผู้เรียน ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนน้อย
2.การสอนแบบอภิปราย (Discussion Method)  เป็นการสอนที่เปิดโอกาสให้นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จะช่วยส่งเสริมให้ผู้เรียนคิดเป็น พูดเป็น อยู่รวมกันแบบประชาธิปไตย
3.การสอนแบบสาธิต (Demonstration Method)  เป็นการสอนที่ผู้สอนมีหน้าที่วางแผนการสอนเป็นส่วนใหญ่ มีการแสดงหรือกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง  เกิดการเรียนรู้จากการสังเกต การฟัง การกระทำหรือการแสดง
4.การสอนแบบปฏิบัติการ (Laboratory) เป็นการสอนที่ใช้ผู้เรียนกระทำกิจกรรมการเรียนภายใต้การแนะนำช่วยเหลืออย่างใกล้ชิด โดยทำการทดลอง ปฏิบัติการ  ฝึกการใช้ทฤษฏีโดยการสังเกตทดลองภายใต้การดูแลของผู้สอน
5.การสอนแบบสัมมนา (Seminer)  เป็นการสอนที่ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าออย่างลึกซึ้งแล้วนำมาเสนอโดยอภิปราย
6.การสอนโดยการแสดงบทบาทสมมุติ (Role Playing) เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนแสดงบทบาทในสถานการณ์ที่สมมุติขึ้น
7. การสอนแบบแก้ปัญหา (Problem Solving) เป็นการสอนที่ใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์ ได้แก่  นิยามปัญหา ตั้งสมมุติฐาน รวบรวม ประเมิน สรุปผลและตรวจสอบผลสรุป
8.การสอนแบบอุปนัย (Inductive  Method) เป็นการสอนแบบปลีกย่อยมหา กฎเกณฑ์ หรือสอนจากตัวอย่างไปหาข้อสรุป  โดยให้นักเรียนหรือผู้เรียนศึกษา ทดสอบ สังเกตเปรียบเทียบเพื่อหาข้อสรุป
9.การสอนแบบนิรนัย (Deductive  Method) เป็นการสอนที่เริ่มจากกฎเกณฑ์หรือหลักการต่างๆ แล้วให้ผู้เรียนหาเหตุผล หลักฐานมายืนยัน วิธีสอนแบบนี้ฝึกให้ผู้เรียนเป็นคนมีเหตุผล
10.การสอนแบบโครงการ (Project Method) เป็นการสอนที่ให้ผู้เรียนได้วางโครงการและการดำเนินงานให้สำเร็จตามโครงการ เป็นการสอนที่สอดคล้องกับความจริง  ผู้เรียนทำงานด้วยการตั้งปัญหาและดำเนินการแก้ปัญหาด้วยการลงมือทำจริง
11.การสอนแบบค้นพบความรู้ (Discovery) เป็นการสอนที่ผู้เรียนค้นคว้าคำตอบหรือความรู้ด้วยตัวเอง
12.การสอนโดยการใช้โสตทัศนูปกรณ์ (Audio-visual Media) เป็นการสอนที่ใช้อุปกรณ์การสอนต่างๆ เช่น สไลด์ ภาพยนตร์โทรทัศน์

เกณฑ์การเลือกวิธีสอน
1.วิธีควรเหมาะสมกับความสามารถความรู้ในเนื้อหาวิชาและความสนใจของผู้สอน
2.วิธีสอนควรเหมาะสมกับผู้เรียน เช่น วัย ความสามารถ ความสนใจ
3.วิธีสอนต้องเหมาะสมกับจำนวนผู้เรียน
4.วิธีสอนจะต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาวิชา
5.วิธีสอนจะต้องสอดคล้องกับเวลาและสถานที่
6.วิธีสอนจะต้องเหมาะสมกับอุปกรณ์และสิ่งแวดล้อม

กลวิธีการสอน

ความหมายของกลวิธีการสอน(Instructional Stray)
หมายถึง  การจัดเลือกวิธีการสอน (Teaching Methods) วิธีใดวิธีหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งวิธี บวกกับเทคนิคการสอน(Teaching Techniques) ต่างๆสำหรับวิธีการสอนที่ต้องการรวมทั้งการจัดสภาพห้องเรียนและการใช้อุปกรณ์ช่วยสอนต่างๆ เพื่อทำให้สามารถทำหน้าที่การสอนนั้น สำเร็จลุล่วงด้วยดี

ลักษณะกลวิธีการสอน
1.กลวิธีการสอนไม่ต้องมีรากฐานทางปรัชญาอย่างลึกซึ่ง เช่นการเชิญวิทยากร
2.เวลาของแผนการสอนไม่จำเป็นต้องใช้เวลามาก
3.กลวิธีการสอนจะมีลักษณะง่ายๆโดยธรรมชาติ มีวัตถุประสงค์เดียวกัน
4.กลวิธีการสอนมีขีดจำกัดในการพัฒนาทักษะที่สำคัญๆ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนอื่นๆได้น้อยมาก

ลักษณะของวิธีการสอน
1.วิธีการสอนแต่ละวิธีจะมีรากฐานทางปรัชญา
2.วิธีการสอนแต่ละวิธีจะมีความซับซ้อนโดยธรรมชาติเกี่ยวข้องกับกิจกรรมมากมาย
3.วิธีการสอนแต่ละวิธีจะช่วยนักเรียนให้พัฒนาทักษะต่างๆ  นำไปประยุกต์ใช้ในการเรียนอื่นๆได้
4.วิธีการสอนแต่ละวิธีการวางแผนในชั้นเรียนอาจต้องใช้เวลาหลายชั่วโมงหรือหลายสัปดาห์ในการถ่ายทอดความรู้

กลวิธีการสอนที่พบเห็นได้บ่อยๆ ได้แก่
1.การสอนเป็นรายบุคคล
2.กิจกรรมการฝึกฝน
3.การไปทัศนศึกษา
4.การอภิปรายเป็นหมู่คณะ
5.การสาธิต
6.การเชิญวิทยากรจากภายนอก
7.การเขียนคำถาม  ฯลฯ

การใช้กลวิธีการสอนกับวิธีการสอน 
1.ครูที่ใช้วิธีสอนในการถ่ายทอดเนื้อหา 
2.ครูที่ใช้กลวิธีการสอนในการถ่ายทอดเนื้อหา 
3.ครูที่ใช้วิธีการสอนและกลวิธีการสอนผสมผสานกันมาถ่ายทอดเนื้อหา

ความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการ
กระบวนการ  คือ  แนวทางการดำเนินการในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีขั้นตอนซึ่งวางไว้อย่างเป็นลำดับตั้งแต่ต้นจนจบตามจุดประสงค์ที่กำหนด
ความหมายของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยใช้กระบวนการ  หมายถึง  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างมีลำดับขั้นตอนตั้งแต่ต้นจนจบแล้วบรรลุจุดประสงค์ตามที่กำหนดไว้
กระบวนการในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน 
1.ทักษะกระบวนการ  9 ประการ  
ใช้กับบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับการทำงานหรือภาคปฏิบัติการเรียนรู้ผ่านทักษะกระบวนการ 9 ประการ มีขั้นตอนในการสอนดังนี้
1.ขั้นตระหนักในปัญหาและความจำเป็น 
2.ขั้นคิดวิเคราะห์วิจารณ์  คือ นำปัญหามาแยกแยะความสำคัญ 
3.ขั้นสร้างทางเลือกที่หลากหลาย คือ ให้ผู้เรียนเสนอแนวทางแก้ไข
4.ขั้นประเมินผลและเลือกทางเลือก
5.ขั้นกำหนดและลำดับขั้นในการปฏิบัติ
6.ขั้นปฏิบัติอย่างชื่นชม  คือ ครูคอยติดตามให้กำลังใจ
7.ขั้นประเมินระหว่างการปฏิบัติการ คือ รายงานผลการปฏิบัติและความถูกต้อง
8.ขั้นปรับปรุง  คือ มีปัญหาในการทำงานให้เสนอแนะและนำไปปรับปรุงแก้ไข
9.ขั้นประเมินผลรวมด้วยความภาคภูมิใจ  คือ สรุปผลการทำงาน
2.กระบวนการสร้างความคิดรวบยอด
เหมาะสำหรับการสอนแนวคิดเรื่องที่อ่าน สอนค่านิยม สอนคำศัพท์   การเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการปฏิบัติ มีขั้นตอนดังนี้ 
1.ขั้นสังเกต 
2.ขั้นจำแนกความแตกต่าง 
3.ขั้นลักษณะร่วม  สรุปของประเด็นปัญหาเป็นวิธีการ หลักการ 
4.ระบุชื่อความคิดรวบยอด 
5.ขั้นทดสอบและนำไปใช้
3.กระบวนการสร้างความตระหนัก
เป็นกระบวนการที่ทำให้นักเรียนเกิดความสนใจ เอาใจใส่และเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียนการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการสร้างควาตระหนัก ดังนี้ 
1.ขั้นสังเกต คือ ได้สัมผัสกับปัญหา 
2.ขั้นวิจารณ์  คือ เห็นผลดีและผลเสียของการแก้ไขปัญหา 
3.ขั้นสรุป  คือ  เห็นความสำคัญและพร้อมจะแก้ไข

4. กระบวนการปฏิบัติ
มุ่งให้ผู้เรียนปฏิบัติการจริงจนเกิดเป็นทักษะการเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการปฏิบัติมีขั้นตอน ดังนี้ 
1.ขั้นสังเกตรับรู้ 
2.ขั้นทำตามแบบ 
3.ขั้นทำเองโดยไม่มีแบบ 
4.ขั้นฝึกให้ชำนาญ
5. กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ
เป็นกระบวนการทางปัญญาที่ผู้เรียนต้องใช้ความสามารถ การรับรู้ การจำ การวิจัย การวิเคราะห์ สังเคราะห์แบบประเมินอย่างมีเหตุผล การเรียนรู้ผ่านกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีขั้นตอนดังนี้ 
1.ขั้นสร้างความคิดรวบยอด 
2.ขั้นอธิบาย 
3.ขั้นการรับฟัง 
4.ขั้นเชื่อมโยงความสัมพันธ์ 
5.ขั้นวิจารณ์ 
6.ขั้นการสรุป

6. กระบวนการแก้ปัญหา
เป็นกระบวนการที่ต้องการให้ผู้เรียนเห็นปัญหา เข้าใจ และหาทางหาคำตอบหรือแก้ปัญหาด้วยตนเอง การเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการแก้ไขปัญหา ดังนี้ 
1.ขั้นสังเกตปัญหา 
2.ขั้นวิเคราะห์ปัญหา 
3.ขั้นสร้างทางเลือก 
4.ขั้นเก็บข้อมูลประเมินทางเลือก 
5.ขั้นสรุปการแก้ปัญหา

7.กระบวนการกลุ่ม
เป็นกระบวนการฝึกการทำงานกลุ่มโดยมีเป้าหมายการทำงานที่แน่ชัด การเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการทำงานกลุ่มมีขั้นตอนดังนี้  
1. ขั้นการมีผู้นำกลุ่ม 
2.ขั้นกำหนดจุดประสงค์และวิธีการ 
3.ขั้นวางแผนโดยรับฟังความคิดเห็นจากสมาชิก 
4.ขั้นปฏิบัติงาน 
5.ขั้นติดตามผลและปรับปรุง 
6. ขั้นการประเมินผลและชื่นชมงาน
8. กระบวนการสร้างเจตคติ
เป็นกระบวนการสร้างความรู้สึกที่มีต่อสิ่งที่เรียน การเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการสร้างเจตคติ มีขั้นตอนดังนี้ 
1.ขั้นสังเกต 
2.ขั้นวิเคราะห์ 
3.ขั้นสรุป
9. กระบวนการสร้างค่านิยม
เป็นกระบวนการที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการยอมรับหรือเปลี่ยนความคิดจากค่านิยมเดิม สู่ค่านิยมใหม่ การเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการสร้างค่านิยม มีขั้นตอนดังนี้ 
1.ขั้นสังเกตตระหนัก  โดยให้กรณีตัวอย่างและจำแนกการกระทำที่ต่างกันได้ 
2.ขั้นประเมินเชิงเหตุผล  โดยวิเคราะห์การกระทำว่าเห็นด้วยหรือไม่เพราะเหตุใด 
3.ขั้นกำหนดค่านิยม  แสดงจุดยืนความเชื่อ พอใจพร้อมเหตุผล 
4.ขั้นแนวทางปฏิบัติ 
5.ขั้นปฏิบัติด้วยความชื่นชม
10. กระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ
เป็นกระบวนการที่ใช้สอนในเรื่องที่มีเนื้อหาความรู้ ความจริง การเรียนรู้โดยผ่านกระบวนการเรียนความรู้ความเข้าใจ มีขั้นตอนดังนี้ 
1.ขั้นสังเกตและตระหนัก 
2.ขั้นวางแผนปฏิบัติ 
3.ขั้นลงมือปฏิบัติ 
4.ขั้นพัฒนาความรู้ความเข้าใจ 
5.ขั้นสรุป




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น