วันศุกร์ที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2559

บทที่ 5 วิธีการสอน

วีธีการสอนแบบบรรยาย
     คือ กระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการเตรียมเนื้อหาสาระ โดย พูด บอก เล่า อธิบายเนื้อหาสาระหรือสิ่งที่ต้องการสอนแก่ผู้เรียน

วัตถุประสงค์
     วีธีการสอนโดยใช้กระบวนการบรรยายเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้เรียนรู้ เนื้อหาสาระ หรือข้อมูลมากๆพร้อมๆกัน

ลักษณะการสอนบรรยาย
1.ผู้สอนเป็นผู้ถ่ายทอดเนื้อหา
2.ผู้เรียนเป็นฝ่ายฟัง
3.มุ่งถ่ายทอดความรู้โดยตรงแก่ผู้ฟัง
4.เน้นการถ่ายทอดสาระวิชาการ

ขั้นตอนการสอนแบบบรรยาย
1.ผู้สอนเตรียมเนื้อหาสาระที่จะบรรยาย
  • วินิจฉัยผู้เรียน
  • เตรียมเนื้อหา
  • เตรียมคำถาม
  • เตรียมสื่อการเรียนการสอน
2.ขั้นสอน
  • ขั้นนำ
  • ซักถาม
  • นำเสนอสิ่งเร้าที่น่าสนใจ
  • ทอสอบก่อนเรียน
  • ขั้นอธิบายขั้นตอน
  • บอกเค้าโครงเรื่อง
  • อธิบายตามลำดับ
  • ใช้สายตา ใช้สื่อ ตัวอย่าง
  • ระดมสมอง อภิปราย คำถาม
  • ขั้นสรุป
  • เปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถาม
  • ผู้สอนสรุปเอง
  • ผู้สอนและผู้เรียนสรุปร่วมกัน
3.ผู้สอนเปิดโอกาสให้ผู้เรียนซักถามและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน
  • ทดสอบหลังการบรรยาย
  • มอบหมายงาน
  • ตรวจแบบฝึกหัด

ข้อดีของการสอนแบบบรรยาย
  1. สอนได้เร็ว
  2. ใช้สอนผู้เรียนได้จำนวนมาก
  3. สะดวก

วิธีการสอนแบบสาธิต
     วิธีการสอนที่ครูมี่หน้าที่ในการวางแผนการเรียนการสอนเป็นส่วนใหญ่ โดยมีการแสดงหรือการกระทำให้ดูเป็นตัวอย่าง เปิดโอกาสให้นักเรียนเข้ามามีส่วนร่วม

วัตถุประสงค์
     วีธีสอนโดยใช้การสาธิตเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนทั้งชั้นได้เห็นการปฏิบัติจริงด้วยตนเอง ทำให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในเรื่องหรือการปฏิบัติให้ชัดเจน


ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบสาธิต
  1. เพื่อกระต้นความสนใจ
  2. เพื่อช่วยอธิบายเนื้อหาที่ยาก
  3. เพื่อพัฒนาการฟังการสังเกตุและการสรุปทำความเข้าใจ

ขั้นตอนในการสอนของวีธีการสอนแบบสาธิต
  1. กำหนดจุดมุ่งหมาย
  2. เตรียมอุปกรณ์ในการสาธิต
  3. เตรียมกระบวนการสาธิต
  4. ทดลองสาธิตก่อนสอบ
  5. ต้องจัดทำคู่มือคำแนะนำหรือข้อสังเกตในการสาธิต
  6. เมื่อสาธิตเสร็จสิ้นแล้ว นักเรียนควรได้ทำการสาธิตซ้ำอีก เพื่อเน้นให้เกิดความเข้าใจดีขึ้

ข้อดีของการสอนแบบสาธิต
  1. ทำให้ผู้เรียนได้ประสบการณ์ตรง
  2. ทำให้ผู้เรียนเข้าใจง่าย
  3. ทำให้ผู้เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง
  4. ทำให้ประหยัดเงินและประหยัดเวลา
  5. ทำให้ผู้เรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์

วิธีการสอนแบบอภิปราย
     คือ เป็นการสอนโดยที่นักเรียนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกันอภิปรายกระทำระหว่างครูกับนักเรียน หรือระหว่างนักเรียนด้วยกัน โดยมีครูเป็นผู้ประสานงาน วิธีการสอนแบบอภิปรายจะช่วยส่งเสริมให้นักเรียนคิดเป็น พูดเป็น และสร้างความเป็นประชาธิปไตย

ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบอภิปราย
  1. เพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันแบบประชาธิปไตย
  2. เพื่อฝึกทักษะในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน
  3. เพื่อฝึกทักษะในการพูด และการแสดงความคิดสร้างสรรค์

ขั้นตอนการสอน
  • ขั้นเตรียมการอภิปราย
  • หัวข้อและรูปแบบการอภิปราย
  • ผู้เรียน
  • ห้องเรียน
  • สื่อการเรียน
  • ขั้นดำเนินการอภิปราย
  • บอกหัวข้อหรือปัญหาที่จะอภิปรายให้ชัดเจน
  • ระบุจุดประสงค์
  • บอกเงื่อนไขหลักเกณฑ์การอภิปรายเช่นระยะเวลาที่ใช้ รูปแบบวิธีการ
  • ดำเนินการอภิปราย
  • ขั้นสรุป
  • สรุปผลการอภิปราย
  • สรุปการเรียน
  • ประเมินผลการเรียน

ข้อดีของวิธีการสอนแบบอภิปราย
  1. ส่งเสริมให้นักเรียนทุกคนมีโอกาสแสดงความคิดเห็นและรับ
  2. พัฒนาสติปัญญาของนักเรียนด้านการคิดหาเหตุผล
  3. ส่งเสริมการค้นคว้าหาความรู้ของนักเรียนเพื่อนนำมาใช้ในการอภิปราย
  4. ผู้เรียนสามารถนำวิธีการอภิปรายไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน

วิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
     คือ เป็นวิธีสอนที่ครูมอบหมายให้นักเรียนทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มร่วมมือกันศึกษาค้นคว้าหาวิธีการแก้ปัญหาหรือปฏิบัติกิจกรรมตามความสามารถ ความถนัดหรือความสนใจ เป็นการฝึกให้นักเรียนทำงานร่วมกัน

ความมุ่งหมายของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
  1. เพื่อให้นักเรียนมีความรับผิดชอบร่วมกันในการทำงาน
  2. เพื่อสร้างวัฒในการทำงานร่วมกันอย่างมีระบบและระเบียบวินัย
  3. เพื่อฝึกทักษะการแก้ปัญหา การศึกษาค้นคว้าและแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง
  4. เพื่อให้นักเรียนได้ทำงานตามความสนใจ ความถนัด และความสามารถ

ขั้นตอนในการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
  1. ครูและนักเรียนร่วมกันกำหนดความหมายของการทำงานในแต่ละกลุ่ม
  2. ครูเสนอแนะแหล่งวิทยาการที่จะใช้ค้นคว้าหาความรู้
  3. นักเรียนร่วมกันวางแผนและปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
  4. ครูและนักเรียนประเมินผลการทำงาน

ข้อดีของวิธีการสอนแบบแบ่งกลุ่มทำกิจกรรม
  1. นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นของตนเองอย่างเต็มที่
  2. นักเรียนได้ทำงานตามความถนัด ความสามารถ และความสนใจของตนเอง

วิธีการสอนแบบนิรนัย
     "เป็นการสอนจากหลักการไปสู่ตัวอย่างย่อยๆ ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนการนำหลักการนำไปใช้ในสถานการณ์ใหม่"
   
วัตถุประสงค์ของการสอนแบบนิรนัย
      วิธีการการสอนโดยใช้การนิรนัย เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียน รู้หลักการและสามารถนำหลักการดังกล่าวไปใช้ได้

องค์ประกอบสำคัญ(ที่ขาดไม่ได้)ของวิธีสอน
  1. มีทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปต่างๆ
  2. มีตัวอย่างสถานการณ์ที่หลากหลาย ที่สามรถนำทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปนั้นไปใช้ได้
  3. มีการฝึกนำทฤษฎี หลักการ กฎ หรือข้อสรุปไปใช้ในเหตุการณ์สถานการณ์ที่หลากหลาย
  4. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดขึ้นจากการนำหลักการไปใช้

ขั้นตอนสำคัญของการสอน
  1. ผู้สนอถ่ายทอดความรู้ ทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุปที่ต้องการให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ ด้วยวิธีการต่างๆตามความเหมาะสม
  2. ผู้สอนให้ตัวอย่างสถานการณ์ใหม่ที่หลากหลายที่สามารถนำความรู้ที่เรียนมาไปใช้
  3. ผู้สอนให้ผู้เรียนฝึกปฏิบัตินำความรู้ ความเข้าใจที่เกิดขึ้นไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
  4. ผู้สอนให้ผู้เรียนวิเคราะห์และอภิปรายการเรียนรู้ที่เกิดขึ้
  5. ผู้สอนวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆในการใช้วิธีการสอนโดยการนิรนัยให้มีประสิทธิภาพ
  1. ผู้สอนจำเป็นต้องทำความเข้าใจทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อความรู้ข้อสรุปที่ต้องการสอนให้แก่ผู้เรียนและหาวิธีการที่เหมาะสมมาถ่ายทอด
  2. การนำเสนอข้อความรู้ ทฤษฎี หลักการ กฎ ข้อสรุปแก่ผู้เรียน
  3. การนำเสนอสถานการณ์ใหม่ที่ให้ผู้เรียนฝึกใช้ความรู้

ข้อดีและข้อจำกัด
ข้อดี
  1. เป็นวิธีการสอนที่ช่วยถ่ายทอดเนื้อหาสาระได้อย่างรวดเร็วและไม่ยุ่งยาก
  2. เป็นวิธีสอนที่ผู้เรียนมีโอกาสได้ฝึกฝนการนำทฤษฎี หลักการไปใช้ในสถานการณ์ใหม่
  3. เป็นวิธีการสอนที่เอื้ออำนวยให้ผู้เรียนมีความสามารถหรือเรียนรู้ได้เร็วสามารถพัฒนา โดยไม่ต้องรอผู้เรียนที่ช้ากว่า

วิธีการสอนแบบอุปนัย
     เป็นวิธีการสอนที่ให้ผู้เรียนสรุปหลักการหรือแนวคิดจากตัวอย่างต่างๆด้วยตนเอง ช่วยให้ผู้เรียนได้คิดได้ทำความเข้าใจด้วยตนเอง


วัตถุประสงค์การสอนแบบอุปนัย
     วิธีการสอนโดยใช้การอุปมัยเป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการคิดวิเคราะห์สามารถจับหลักการ หรือประเด็นสำคัญได้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้หลักการ แนวคิด หรือข้อความรู้ต่างๆอย่างเข้าใจ

องค์ประกอบสำคัญของวิธีสอน
  1. มีตัวอย่าง ข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์ ปรากฏการณ์ ความคิดที่เป็นลีกษณะย่อยๆของสิ่งที่ต้องการให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้
  2. มีการวิเคราะห์ตัวอย่างต่างๆเพื่อหาหลักการที่ร่วมกัน
  3. มีการสรุปหลักการและข้อสรุปที่มีลักษณะเป็นหลักการ แนวคิด

ขั้นตอนสำคัญของการสอน
  1. ผู้สอนหรือผู้เรียน ยกตัวอย่าง ข้อมูล สถานการณ์ เหตุการณ์ ปรากฎการณ์ ความคิด ที่มีลักษณะสำคัญของสิ่งที่จะเรียนรู้
  2. ผู้เรียนศึกษาและวิเคราะห์หาหลักการที่แฝงอยู่ในตัวอย่างนั้นๆ
  3. ผู้เรียนสรุปหลักการ แนวคิด ที่ได้จากตัวอย่างนั้นๆ

เทคนิคและข้อเสนอแนะต่างๆในการใช้วิธีสอนโดยการนิรนัยให้มีประสิทธิภาพ
  1. การเตรียมตัวอย่าง
  2. การให้ผู้เรียนศึกษาวิเคราะห์หาหลักการ แนวคิดจากตัวอย่าง
  3. การให้ผู้เรียนสรุปและนำข้อสรุปไปใช้

ข้อดีและข้อจำกั
  1. เป็นวิธีการสอนที่ผู้เรียนสามารถค้นพบการเรียนรู้ได้ด้วยตนเองจึงทำให้เกิดความเข้าใจและจดจำได้ดี
  2. เป็นวิธีสอนที่ช่วยให้ผู้เรียนได้พัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ อันเป็นเครื่องมือสำคัญของการเรียนรู้
  3. เป็นวิธีการสอนที่ผู้เรียนได้ทั้งเนื้อหาความรู้ และกระบวนการ ซึ่งผู้เรียนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการรู้เรื่องอื่นๆได้

วิธีการสอนโดยใช้การทดลอง
     คือกระบวนการที่ผู้สอนใช้ในการช่วยให้ผู้เรียนเกิการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด โดยการให้ผู้เรียนเป็นผู้กำหนดปัญหาและสมมุติฐานในการทดลองและลงมือทดลองปฏิบัติตามขั้นตอนที่กำหนดโดยใช้วัสดุอุปกรณ์ที่จำเป็น เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล สรุปอภิปรายผลการทดลอง และสรุปการเรียนรู้ที่ได้รับจากการทดลอง

วัตถุประสงค์
     วิธีการสอนโดยใช้การทดลอง เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนรายบุคคลหรือรายกลุ่มเกิดการเรียนรู้โดยการเห็นผล จากการคิดและการกระทำของตนเอง ทำให้การเรียนรู้นั้นตรงกับความเป็นจริง มีความหมายสำหรับผู้เรียนและจำได้นาน

องค์ประกอบของวิธีการสอน
  1. มีปัญหาและสมมุติฐานในการทดลอง
  2. มีวัสดุอุปกรณ์สำหรับทดลอง
  3. มีการทดลอง
  4. มีผลการเรียนรู้ของผู้เรียนที่เกิดจากการทดลอง

ขั้นตอนการสอนแบบทดลอง
  • ขั้นเตรียมการทดลอง
  • กำหนดจุดประสงค์
  • วางแผนการทดลอง
  • จัดเตรียมวัสดุและเครื่องมือ
  • ตรวจสอบความถูกต้องและประสิทธิภาพของเครื่องมือ
  • เตรียมแบ่งกลุ่มผู้เรียน
  • ขั้นลงมือทดลอง
  • ขั้นสรุปผลการทดลอง

ข้อดี
  1. ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์ตรงของการปฏิบัติการหรือทดลอง
  2. เป็นการเรียนรู้จากการกระทำ หรือเป็นการเรียนรู้จากสภาพจริง
  3. เสริมสร้างความคิดในการหาเหตุผล
  4. เป็นการเรียนรู้เพื่อนำประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
  5. เป็นการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสหลายด้าน
  6. การปฏิบัติการหรือทดลอง นอกจากช่วยเพิ่งความเข้าใจในการเรียนรู้แล้ว ยังทำให้นักเรียนมีคามสนใจและตั้งใจเรียนเพราะได้ปฏิบัติจริงด้วยตนเอง

วิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ
     คือ วิธีการสอนที่ผู้สอนสร้างสร้างสถานการณ์และบทบาทสมมติขึ้นจากความเป็นจริง มาให้ผู้เรียนได้แสดงออกตามที่ผู้เรียนคิดว่าจะเป็น ผู้สอนจะใช้การแสดงออกทั้งด้านความรู้ ความคิด และพฤติกรรมของผู้แสดงมาเป็นพื้นฐานในการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจแก่ผู้เรียน อันจะทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาสาระของบทเรียนอย่างลึกซึ้ง และรู้จักปรับหรือเปลี่ยนพฤติกรรม และการแก้ไขปัญหาต่างๆ ได้อย่างเหมาะสม

วัตถุประสงค์
     วิธีการสอนโดยใช้การแสดงบทบาทสมมุติ เป็นวิธีการที่มุ่งช่วยให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ เกิดความเข้าใจในความรู้สึกและพฤติกรรมทั้งของตนเองและผู้อื่นหรือเกิดความเข้าใจในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับบทบาทสมมุติที่ตนแสดง

ความมุ่งหมายของวิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ
  1. เพื่อให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจในพฤติกรรมและความรู้สึกของผู้อื่น
  2. เพื่อให้ผู้เรียนได้ปรับหรือเปลี่ยนพฤติกรรมไปในทางที่เหมาะสม
  3. เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกการใช้ความรู้ความคิดในการแก้ปัญหา และการตัดสินใจ
  4. เพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงออก ได้เรียนด้วยความเพลิดเพลิน
  5. เพื่อให้การเรียนการสอนมีความใกล้เคียงกับสภาพความเป็นจริงมากขึ้น

ลักษณะของบทบาทสมมุติ
  1. การแสดงบทบาทสมมุติแบบละคร
  2. การแสดงบทบาทสมมุติแบบแก้ปัญหา

ขั้นตอนวิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมติ
  • ขั้นเตรียมการสอน
  • เตรียมจุดประสงค์ของการแสดงบทบาทสมมติ
  • เตรียมสถานการณ์สมมติ
  • ขั้นดำเนินการสอน
  • ขั้นนำสู่การแสดง
  • เลือกผู้แสดง
  • เตรียมความพร้อมผู้แสดง
  • จัดฉากการแสดง
  • เตรียผู้สังเกตการณ์
  • การแสดง
  • การตัดบท
  • ขั้นวิเคราะห์และอภิปรายผลการแสดง
  • ผู้เรียนแสดงความคิดเห็น คิดวิเคราะห์ อภิปราย
  • ขั้นแสดงเพิ่งเติม
  • ผู้เรียนเสนอแนวทางใหม่ในการแก้ปัญหา
  • ขั้นแลกเปลี่ยนประสบการณ์และสรุ
  • ผู้เรียนแลกเปลี่ยนประสบการณ์ และสรุปร่วมกันกับผู้สอน

ข้อดีของวิธีการสอนโดยใช้บทบาทสมมุติ
  1. ช่วยให้เกิดความเข้าใจว่าอื่นอาจคิด รู้สึก และปฏิบัติอย่างไร เห็นอกเห็นใจคนอื่น
  2. ใช้ช่วยในการเปลี่ยนแปลงเจตคติ
  3. ผู้เรียนได้รับการเตรียมสำหรับสถานการณ์จริงที่จะเผชิญ
  4. กระตุ้นให้เกิดความคิดสร้างสรรค์
  5. สามารถใช้พัฒนาทักษะทางสังคม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น