วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

องค์ประกอบการคุณภาพภายในสถานศึกษา

องค์ประกอบการคุณภาพภายในสถานศึกษา
องค์ประกอบที่ 1  การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
1.1  ศึกษาวิเคราะห์มาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามที่กระทรวงศึกษาประกาศใช้
1.2  พิจารณาสาระสำคัญที่จะกำหนดในมาตรฐาน  ตัวบ่งชี้ที่สะท้อนอัตลักษณ์และมาตรการส่งเสริมของสถานศึกษา 
1.3  กำหนดค่าเป้าหมายความสำเร็จของแต่ละมาตรฐานและ ตัวบ่งชี้
1.4  การประกาศค่าเป้าหมายแต่ละมาตรฐานและตัวบ่งชี้ว่าด้วยการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้กลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกรับทราบ
องค์ประกอบที่ การเรียนการสอน
2.1 ศึกษาหลักสูตรเพื่อวางแผนการเรียนที่มีคุณภาพตามความถนัด
2.2 ศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ของมหาวิทยาลัย / ของคณะหรือของภาควิชาตรวจสอบตนเองและมีส่วนร่วมในการพัฒนาตนเอง
2.3 ประเมินการสอนของอาจารย์ด้วยความจริงใจ ตรงตามความเป็นจริงเพื่อนำสู่การปรับปรุงและพัฒนาการเรียนการสอน
2.4 ประเมินประสบการณ์ที่ได้รับเพื่อการพัฒนาร่วมกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้ต่างๆ รวมทั้งกิจกรรมวิชาการ
องค์ประกอบที่ 3 กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
3.1 สร้างองค์กรนักศึกษาที่เข้มแข็ง เพื่อดำเนินกิจกรรมอย่างเป็นระบบโดยมี  การวางแผน  (P) การดำเนินการ (D) การตรวจสอบ ( C) และการนำผลการตรวจสอบไปสู่การปรับปรุงและพัฒนา (A)  อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์
3.2 เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆทั้งที่สถาบันและองค์การนักศึกษาตลอดจนชมรมต่างๆ จัดขึ้นเสนอความต้องการของตนเองเกี่ยวกับกิจกรรมนักศึกษาโดยความสุจริตใจ
3.3 มีส่วนในการประเมินบริการต่างๆที่สถาบันจัดให้อย่างจริงใจ ตรงตามความเป็นจริง
องค์ประกอบที่ 4  การวิจัย
4.1 ให้ความร่วมมือกระบวนการวิจัยของอาจารย์และของสถาบัน
4.2 ร่วมสร้างผลงานและนวัตกรรมที่เกิดจากการเรียนรู้ โดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
4.3 ให้ข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมที่นักศึกษาดำเนินการในด้านนี้
องค์ประกอบที่ 5  การบริการวิชาการ
          5.1 ดำเนินกิจกรรมชมรมทางด้านวิชาการและเผยแพร่        บริการวิชาการแก่ชุมชน
          5.2 ร่วมกิจกรรมบริการวิชาการของสถาบัน
          5.3 พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองจากการเรียนรู้     เพื่อนำไปสู่การให้บริการแก่ชุมชน
องค์ประกอบที่ 6 การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
          6.1 ดำรงตนไว้ซึ่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่       ดีงาม
          6.2 ร่วมกิจกรรมและเผยแพร่วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม      ประเพณีอันดีงามของสถาบัน ของสังคมและของประเทศ
          6.3 แนะนำตักเตือนเพื่อนร่วมสถาบันในอันที่จะส่งเสริม       วัฒนธรรมอันดีงาม
องค์ประกอบที่ 7 การบริหารจัดการ
          7.1 เสนอ / แสดงความคิดเห็นแก่ผู้บริหารอย่างสร้างสรรค์   ตามขั้นตอน เพื่อช่วยกันพัฒนามหาวิทยาลัย
มาตรฐานที่ 8 การเงินและงบประมาณ
          8.1 รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับงบประมาณที่ใช้ในการจัดกิจกรรมอย่างเป็นระบบเสนอต่อมหาวิทยาลัย
องค์ประกอบที่ 9 การประกันคุณภาพภายใน
9.1 ศึกษาระบบการบริหารงานแบบประกันคุณภาพ และนำไปเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานโครงการ / ชมรมของนักศึกษา
9.2 ช่วยเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาและเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางพัฒนาปรับปรุงงานประกันคุณภาพการศึกษาของมหาวิทยาลัยฯ
          9.3 รวมกลุ่มกันจัดตั้งองค์กรนักศึกษาเพื่อสร้างเครือข่ายในการร่วมติดตาม รับรู้การดำเนินงานประกันคุณภาพ สร้างโอกาสในการแลกเปลี่ยนประสบการณ์การเรียนรู้ เพิ่มพูนความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาการศึกษา ส่งเสริมและสนับสนุนการประกันคุณภาพของมหาวิทยาลัยเพื่อความเข้มแข็งเชิงคุณภาพของสถาบัน อันจะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อนักศึกษาอย่างแท้จริง



 นายอรรถพล  เรืองขจร  TME 358116251028

สรุปมาตรฐานการอาชีวศึกษา-ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ2559

สรุปมาตรฐานการอาชีวศึกษา-ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ2559

มาตรฐานที่ 1    ด้านผลการจัดการศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1    ระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา
1. สถานศึกษามีข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา จำแนกเป็น ผู้ที่ได้งานทำในสาขาที่เกี่ยวข้อง ศึกษาต่อ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา
2. สถานศึกษามีการสำรวจความพึงพอใจต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาเป็นรายบุคคล และได้รับข้อมูลตอบกลับ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 จากสถานประกอบการ
3. สถานศึกษามีจำนวนข้อมูลตอบกลับที่มีผลการประเมินความพึงพอใจ ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะ ด้านสมรรถนะวิชาชีพ เฉลี่ย 3.51 5.00 ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2    ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาเทียบกับจำนวนผู้เข้าเรียน

สูตรการคำนวณ
                   ร้อยละ           =        จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา           x  100
                                                จำนวนผู้เข้าเรียนแรกข้าวของรุ่น

มาตรฐานที่ 2    ด้านบริหารจัดการศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1    ระดับคุณภาพในการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางสถานศึกษาคุณธรรม
1. สถานศึกษามีการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานศึกษาคุณธรรมและผู้บริหาร ครู
2. สถานศึกษามีการกำหนด คุณธรรมอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
3. สถานศึกษาจัดให้กลุ่มผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา และกลุ่มผู้เรียนจัดทำโครงกาคุณธรรม จริยธรรม 4. สถานศึกษาส่งเสริม ผู้บริหาร กลุ่มครู ดำเนินการตามโครงการคุณธรรม จริยธรรมโดยมีการนิเทศ
5. มีการประเมินผลการดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนด และมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2   ระดับคุณภาพในการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของหน่วยงานต้นสังกัด
1. ผู้อำนวยการสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ในนโยบายสำคัญที่หน่วยงานต้นสังกัด
2. ผู้อำนวยการสถานศึกษามีความสามารถในการสื่อสารให้ครู บุคลากรทางการศึกษา
3. ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน ร่วมกันกำหนดแผนงานโครงการ กิจกรรม และเป้าหมาย
4. ผู้อำนวยการสถานศึกษามีการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ กิจกรรม
5. มีการประเมินผลการดำเนินงานตามเป้าหมายและกำหนดแผนพัฒนาต่อไป
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3   ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการด้านบุคลากร
1. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล ให้มีจำนวนครูทั้งหมดเทียบกับจำนวนผู้เรียนทั้งหมด ตามเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ ให้ครูผู้สอนในแต่ละรายวิชาทุกคนเป็นผู้ที่จบการศึกษาตรงหรือสัมพันธ์กับรายวิชาที่สอน ให้ครูไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ได้ศึกษาฝึกอบรมประชุมวิชาการ ศึกษาดูงานด้านวิชาการ ให้มีจำนวนบุคลากรทางการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการประกาศเกียรติคุณ ยกย่องความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ที่ 2.4   ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการด้านการเงิน
1. สถานศึกษา มีการพัฒนาแผนปฏิบัติงานประจำปี มีการจัดงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายของแผนงาน โครงการ กิจกรรมต่างๆ
2. สถานศึกษา มีรายจ่ายค่าวัสดุฝึก อุปกรณ์และสื่อสำหรับการเรียนการสอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของงบดำเนินการ
3. สถานศึกษา มีรายจ่ายในการส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ความรู้ความสามารถไปบริการวิชาการวิชาชีพหรือทำประโยชน์ต่อชุมชน มีการจัดทำการประกวด การแสดงโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ มีการจัดกิจกรรมด้านการรักชาติเทิดทูนพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ที่ 2.5   ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการด้านอาคารสถานที่ ด้านครุภัณฑ์
                             และด้านฐานข้อมูลสารสนเทศ
1. สถานศึกษา มีการพัฒนาและดูแลสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ของสถานศึกษาให้สะอาด เรียบร้อย
2. สถานศึกษา มีการกำกับดูแลการใช้อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการโรงฝึกงาน ศูนย์วิทยบริการและอื่นๆ ให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน มีการกำกับดูแลในการจัดหา การใช้ การบำรุงรักษาครุภัณฑ์ที่เหมาะสม เพียงพอ และมีความปลอดภัยในทุกสาขางานที่จัดการเรียนการสอน
3.มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล อย่างน้อย 4 ประเภท อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ คือ
(1) มีระบบป้องกันผู้บุกรุกระบบฐานข้อมูลจากภายในและภายนอก
(2) มีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงระบบฐานข้อมูลอย่างชัดเจน
(3) มีการติดตั้งโปรแกรม Anti Virus เพื่อป้องกันไวรัสและกำจัดไวรัส ในเครื่องลูกข่าย
(4) มรฐานข้อมูลการ Update เป็นปัจจุบัน
(5) มีการสำรองฐานข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
4. สถานศึกษา ส่งเสริม ครูและผู้เรียน สามารถใช้ประโยชน์จากการบริหารจัดการฐานข้อมูลสารสนเทศ
ตัวบ่งชี้ที่ 2.6   ระดับคุณภาพในการประสานงานความร่วมมือเพื่อการบริหารจัดการ
สถานศึกษา มีแผนงาน โครงการ ในการประสานความร่วมมือกับบุคคล ชุมชนสมาคม ชมรม เพื่อระดมทรัพยากรในการบริหารจัดการศึกษา การฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ การรับเชิญเป็นครูพิเศษ วิทยากรร่วมพัฒนาผู้เรียนในทุกสาขางานที่จัดการเรียนการสอน การมอบทุนการศึกษาให้แก่ผู้เรียนโดยมีสัดส่วน 1 ทุนต่อผู้เรียนไม่เกิน 100 คน การบริจาคเงิน หรือวัสดุอุปกรณ์หรือครุภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ 3 ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          ตัวบ่งชี้ที่ 3.1    ระดับคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนรายวิชา
1. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล ให้ครูทุกคนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาที่ถูกต้อง
2. ให้ครูทุกคนจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา และมีการบันทึกหลังการสอน
3. ให้ครูทุกคนนำผลจากการวัดผลและการประเมินผลการเรียนตามสภาพจริงไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน
4. ให้มีการนิเทศการจัดการเรียนการสอนของครูทุกคน เพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหา
5. ให้ครูทุกคนแก้ไขปัญหา พัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาโดยการศึกษาหรือการวิจัย อย่างน้อย 1 รายวิชาซึ่งประกอบด้วย
          (1) การระบุปัญหา
          (2) การระบุวัตถุประสงค์
          (3) วิธีการดำเนินการ
          (4) การเก็บข้อมูล
          (5) การวิเคราะห์รายงานสรุปผล เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา หรือการวิจัย ไปใช้ประโยชน์
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2   ระดับคุณภาพในการพัฒนารายวิชาหรือกลุ่มวิชา
1. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแลให้ครูศึกษา สำรวจข้อมูลความต้องการในการพัฒนารายวิชา
2. ครูพัฒนารายวิชา หรือกลุ่มวิชาตามข้อ 1 จากเอกสารอ้างอิงที่เชื่อถือได้
3. สถานศึกษา สนับสนุนสื่อการสอนและกำกับดูแลให้ครูจัดการเรียนการสอนในรายวิชาให้ถูกต้อง
4. ให้มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนำผลไปปรับปรุงแก้ไขรายวิชา
5. สถานศึกษา มีรายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่พัฒนาตามประเด็นการประเมินข้อ 1 – 4 ไม่เกิน 3 ปี ครบทุกสาขา
ตัวบ่งชี้ที่ 3.3   ระดับคุณภาพในการจัดการศึกษา
1. สถานศึกษา จัดการศึกษาระบบทวิภาคีตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนสาขางานที่จัดการเรียนการสอน
2. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแลให้ผู้เรียนได้ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพในสถานประกอบการ หน่วยงานที่สอดคล้องกับสาขางานที่เรียน โดยมีครูนิเทศไปนิเทศผู้เรียนอย่างน้อย 1 ครั้ง
3. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแลให้ผู้เรียนทุกคนทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพที่สอดคล้องกับสาขางานที่เรียนเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มตามความเหมาะสม
4. สถานศึกษา จัดให้ผู้เรียนได้รับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินมาตรฐานวิชาชีพที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
5. สถานศึกษา ส่งเสริม กำกับดูแลให้ผู้เรียนได้รับรางวัล ประกาศเกียรติคุณยกย่องความรู้ความสามารถ
ตัวบ่งชี้ที่ 3.4   ระดับคุณภาพในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการจัดกิจกรรมด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์
2. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการจัดกิจกรรมด้านการกีฬาและนันทนาการ
4. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมการดำรงตนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่น้อยกว่า 5 กิจกรรม
5. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนใช้ความรู้ความสามารถ ทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่มในการบริการวิชาการ วิชาชีพหรือทำประโยชน์ต่อชุมชน สังคม

มาตรฐานที่ 4    ด้านการประกันคุณภาพภายใน
          ตัวบ่งชี้ที่ 4.1    ระดับคุณภาพในการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน
1. สถานศึกษา มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
2. สถานศึกษา ได้ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
3. สถานศึกษา ได้จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
4. สถานศึกษา ได้จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
5. สถานศึกษา ได้จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องจากผลการประเมินคุณภาพภายในและผลการประเมินคุณภาพภายนอก
ตัวบ่งชี้ที่ 4.2   ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่มีการพัฒนา
สูตรการคำนวณ
                   ร้อยละ           =        จำนวนตัวบ่งชี้ที่มีการพัฒนา        x  100
                                                จำนวนตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่มีการประเมิน





 นายอรรถพล  เรืองขจร TME 358116251028

ผู้ได้ประโยชน์จากการประกันคุณภาพ

ผู้ได้ประโยชน์จากการประกันคุณภาพ
นักศึกษา : เป็นคนดี มีคุณภาพ มีความรู้ มีงานทำ มีเงินเดือนตามเกณฑ์ มีความสุข
ผู้ปกครอง : ไว้วางใจในสถาบันที่จะให้ลูกหลานเข้าศึกษา
ผู้ประกอบการ/นายจ้าง :       ได้บุคลากรที่ดี มีความรู้ ความสามารถตรงตามต้องการ กิจการประสบผลสำเร็จได้กำไร        ได้รับการสนับสนุนทางวิชาการที่มีคุณภาพ
ประชาชน/สังคม/รัฐบาล : ได้ทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพได้องค์ความรู้จากงานวิจัยที่เป็นผลผลิตจากสถาบันการศึกษา
มหาวิทยาลัย :  ได้ชื่อเสียง ดำรงอยู่ได้

การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อได้มีการประเมินผลการดำเนินงานตามภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งมีการทบทวนและติดตามกระบวนการดำเนินการอย่างใกล้ชิด

ภารกิจของสถาบันอุดมศึกษา
1.      การผลิตบัณฑิต
2.      การสร้างสรรค์งานวิจัยและนวัตกรรม
3.      การบริการวิชาการ
4.      การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม

มาตรฐานสถาบันอุดมศึกษาเพื่อการประกันคุณภาพภายใน
องค์ประกอบที่ 1        ปรัชญา ปณิธาน วัตถุประสงค์ และแผนดำเนินงาน
          องค์ประกอบที่  2       การเรียนการสอน
          องค์ประกอบที่ 3        กิจกรรมการพัฒนานักศึกษา
          องค์ประกอบที่ 4        การวิจัย
          องค์ประกอบที่ 5        การบริการวิชาการแก่สังคม
          องค์ประกอบที่ 6        การทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
          องค์ประกอบที่ 7        การบริหารและจัดการ
          องค์ประกอบที่ 8        การเงินแลงบประมาณ
          องค์ประกอบที่ 9       ระบบประกันคุณภาพภายใน

มาตรฐานในการประเมินภายนอก ของ สมศ.
         1. ด้านคุณภาพบัณฑิต
         2. ด้านงานวิจัยและงานสร้างสรรค์
         3. ด้านการบริการวิชาการ
         4. ด้านการทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
         5. ด้านการพัฒนาสถาบันและบุคลากร
         6. ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน
         7. ด้านการประกันคุณภาพ                
  
ผู้เกี่ยวข้องกับคุณภาพการศึกษา

1.      อธิการบดี/รอง
2.      อาจารย์/บุคลากรสนับสนุน
3.      หัวหน้าสาขา
4.      กรรมการสภามหาวิทยาลัย
5.      คณบดี
6.      ผู้ปกครอง /ชุมชน

นายอรรถพล  เรืองขจร  TME 358116251028

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา

ความหมายของการประกันคุณภาพการศึกษา
การประกันคุณภาพการศึกษา หมายถึง กิจกรรมหรือ  แนวปฏิบัติใด ๆ ที่หากดำเนินการตามระบบและแผนที่ได้วางไว้แล้ว จะทำให้เกิดความมั่นใจว่าจะได้ผลผลิตของการศึกษาที่มีคุณภาพตามคุณลักษณะที่พึงประสงค์

วัตถุประสงค์ของการประกันคุณภาพ
1.       เพื่อให้หน่วยงานทางการศึกษาได้พัฒนาคุณภาพของผลผลิตทางการศึกษา และประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของผู้เกี่ยวข้อง
2.       เพื่อให้สังคมมั่นใจเกี่ยวกับผลผลิต/บริการของหน่วยงานทางการศึกษา
3.       เพื่อให้ข้อมูลแก่ผู้สมัครเข้าศึกษาในหน่วยงานทางการศึกษาเกี่ยวกับคุณภาพของบัณฑิต

ความจำเป็นในการประกันคุณภาพ
1.       โลกเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วผลกระทบต่อคุณภาพของคน
2.       ความหลากหลายในคุณภาพของสถานศึกษา การแข่งขันกันสูงทั้งในประเทศและต่างประเทศ
3.       ความจำเป็นที่จะต้องสร้างองค์ความรู้ให้เป็นสากลเพื่อการยอมรับจากนานาชาติ
4.       สร้างความมั่นใจให้แก่สังคมว่าสามารถผลิตคนที่มีคุณภาพ
5.       เพื่อให้ข้อมูลแก่สาธารณะที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน ผู้จ้างงาน ผู้ปกครอง รัฐบาลและประชาชนทั่วไป

การควบคุมคุณภาพการศึกษา
หมายถึง การมีระบบและกลไกในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพเพื่อกำกับการดำเนินงานของสถาบันให้ได้ผลตามดัชนีบ่งชี้คุณภาพที่กำหนด

การตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
หมายถึง กระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์ว่าสถาบันมีระบบและกลไกกำกับการควบคุมคุณภาพและได้ปฏิบัติ ตลอดจนมีผลการปฏิบัติตามระบบและกลไกดังกล่าว

การประเมินคุณภาพการศึกษา
หมายถึง กระบวนการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของสถาบันว่าส่งผลต่อคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้

การประกันคุณภาพการศึกษาระดับอุดมศึกษา
หมายถึง การมีระบบและกลไกในการควบคุมตรวจสอบ และประเมินการดำเนินงานในแต่ละองค์ประกอบคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้ที่กำหนด


พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๒
แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๕


หมวด 6 มาตรฐาน และการประกันคุณภาพการศึกษา
สาระสำคัญ  “กำหนดให้มีระบบประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการศึกษา ให้สถานศึกษาจัดให้มี ระบบประกันคุณภาพภายใน โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเปิดเผยต่อสาธารณชน และให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐาน และประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ) ทำหน้าที่ประเมินคุณภาพภายนอกทุกแห่ง ทุกๆ 5 ปี ”

มาตรา 47
ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก

มาตรา 48
ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด หน่วยที่เกี่ยวข้อง

มาตรา 49
ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา มีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา
ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปีนับตั้งแต่การประเมินครั้งสุดท้าย และเสนอผลการประเมินต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสาธารณชน

มาตรา 50
ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่าง ๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา ตลอดจนให้บุคลากร คณะกรรมการของสถานศึกษา รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่พิจารณาของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา

มาตรา 51
ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา จัดทำข้อเสนอแนะ การปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าว ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะกรรมการการอาชีวศึกษา หรือคณะกรรมการการอุดมศึกษา เพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข




 นายอรรถพล  เรืองขจร TME 358116251028

การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเกณฑ์ใหม่

การประกันคุณภาพการศึกษาภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษาเกณฑ์ใหม่

การประกันคุณภาพการศึกษาภายในแบ่งออกเป็น 3 ระดับ
1.      การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร
2.      การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักคณะ
3.      การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน

การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร เป็นการประกันคุณภาพ
การจัดการศึกษาว่าหลักสูตรได้ดำเนินการเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยให้พิจารณาองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่ การกำกับมาตรฐาน บัณฑิต นักศึกษา อาจารย์ หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมิน ผู้เรียน และสิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อให้สามารถผลิตบัณฑิตให้มีคุณภาพ

การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร
ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบ
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
องค์ประกอบที่ 3  นักศึกษา
องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้

การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับหลักสูตร
องค์ประกอบที่ 1 การกำกับมาตรฐาน
การพิจารณาเสนอนโยบาย แผนพัฒนา และมาตรฐานการอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและแผนการศึกษาแห่งชาติ โดยคำนึงถึงความเป็นอิสระและความเป็นเลิศทางวิชาการของสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา โดยได้จัดทำมาตรฐานการอุดมศึกษาและเกณฑ์มาตรฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษาได้พัฒนาด้านวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งการพัฒนาคุณภาพและยกระดับมาตรฐานในการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาให้มีความทัดเทียมกัน

องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต
การผลิตบัณฑิต เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาการและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด บัณฑิตระดับอุดมศึกษาจะต้องเป็นผู้มีความรู้ มีคุณธรรมจริยธรรม มีความสามารถในการเรียนรู้และพัฒนาตนเอง สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ เพื่อการดำรงชีวิต ในสังคมได้อย่างมีความสุขทั้งทางร่างกายและจิตใจ มีความสำนึกและความรับผิดชอบในฐานะพลเมืองและพลโลก มีคุณลักษณะตามอัตลักษณ์ของสถาบันอุดมศึกษา

องค์ประกอบที่ 3  นักศึกษา
เกี่ยวกับ นักศึกษา ระบบประกันคุณภาพนักศึกษา ต้องให้ความสำคัญกับการรับหรือคัดเลือกนักศึกษาเข้าศึกษาในหลักสูตร ซึ่งต้องเป็นระบบที่สามารถคัดเลือกนักศึกษาที่มีคุณสมบัติและความพร้อมในการเรียนในหลักสูตรจนสำเร็จการศึกษา และการส่งเสริมพัฒนานักศึกษาให้มีความพร้อมทางการเรียน และมีกิจกรรมการพัฒนาในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความสามารถตามหลักสูตร มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

องค์ประกอบที่ 4 อาจารย์
อาจารย์เป็นปัจจัยป้อนที่สำคัญของการผลิตบัณฑิต ผู้เกี่ยวข้องต้องมีการออกแบบระบบประกันการบริหารและพัฒนาอาจารย์ เพื่อให้ได้อาจารย์ที่มีคุณภาพเหมาะสม มีคุณสมบัติสอดคล้องกับสภาพบริบท ปรัชญา วิสัยทัศน์ของสถาบัน และของหลักสูตร และมีการส่งเสริมให้อาจารย์มีความรักในองค์กรและการปฎิบัติงานตามวิชาชีพ ผู้บริหารต้องมีการกำหนดนโยบาย แผนระยะยาว และกิจกรรมการดำเนินงาน ตลอดจนการกำกับดูแลและการพัฒนาคุณภาพอาจารย์ การวางระบบประกันคุณภาพอาจารย์ เป็นการดำเนินงานเพื่อให้ได้อาจารย์ที่มีคุณสมบัติทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรที่กำหนดโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

องค์ประกอบที่ 5 หลักสูตร การเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน
การบริหารจัดการ 3 ด้านที่สำคัญ คือ (1) สาระของรายวิชาในหลักสูตร (2) การวางระบบผู้สอนและกระบวนการเรียนการสอน (3) การประเมินผู้เรียนระบบประกันคุณภาพในการดำเนินการหลักสูตร ประกอบด้วย หลักสูตร การเรียนการสอน และการประเมินผู้เรียน เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบมาตรฐานคุณวุฒิตามที่สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากำหนด ตัวบ่งชี้ในการประเมินต้องให้ความสำคัญกับการกำหนดรายวิชาที่มีเนื้อหาที่ทันสมัยก้าวหน้า ความก้าวหน้าทางวิทยาการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา รวมทั้ง การวางระบบผู้สอนและอาจารย์ที่ปรึกษา ซึ่งต้องเป็นบุคคลที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์และมีคุณสมบัติเหมาะสมในการพัฒนานักศึกษาให้เต็มศักยภาพ จัดกิจกรรมการเรียนการสอน ที่เน้นนักศึกษาเป็นสำคัญ และส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้
สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้ ซึ่งประกอบด้วย ความพร้อมทางกายภาพ ความพร้อมด้านอุปกรณ์ ความพร้อมด้านเทคโนโลยี ความพร้อมด้านการให้บริการ เช่น ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการ ห้องทำวิจัย อุปกรณ์ การเรียนการสอน ห้องสมุด การบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ คอมพิวเตอร์ Wifi และอื่นๆรวมทั้งการบำรุงรักษาที่ส่งเสริมสนับสนุนให้นักศึกษาสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพประสิทธิผล ตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ โดยพิจารณาร่วมกับผลการประเมินความพึงพอใจของนักศึกษาและอาจารย์

การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับคณะ
ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ

องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาการและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด การเรียนการสอนในยุคปัจจุบันใช้หลักการของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
มีระบบและกลไกควบคุมให้สามารถดำเนินการในพันธกิจด้านนี้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพตามจุดเน้นเฉพาะของแต่ละสถาบันเพื่อให้ได้ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่เกิดประโยชน์ การวิจัยจะประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์จำเป็นต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ
 1) สถาบันต้องมีแผนการวิจัย มีระบบและกลไก ตลอดจนมีการสนับสนุนทรัพยากรให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
 2) คณาจารย์มีส่วนร่วมในการวิจัยอย่างเข้มแข็ง โดยบูรณาการงานวิจัยกับการจัดการเรียน
การสอน และพันธกิจด้านอื่นๆ ของสถาบัน
 3) ผลงานวิจัยมีคุณภาพ มีประโยชน์ สนองยุทธศาสตร์ของชาติและมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
สถาบันพึงให้บริการทางวิชาการแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในรูปแบบต่างๆ ตามความถนัดและในด้านที่สถาบันมีความเชี่ยวชาญ การให้บริการทางวิชาการอาจให้เปล่าโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายหรืออาจคิดค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม โดยให้บริการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ ชุมชน และสังคมโดยกว้าง รูปแบบการให้บริการทางวิชาการมีความหลากหลาย เช่น การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ทรัพยากรของสถาบัน เป็นแหล่งอ้างอิงทางวิชาการ ให้คำปรึกษา ให้การอบรม จัดประชุมหรือสัมมนาวิชาการ

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องมีระบบและกลไกการดำเนินงานด้านนี้ให้เป็นไปอย่างมี
ประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยอาจมีจุดเน้นเฉพาะที่แตกต่างกันตามปรัชญา และธรรมชาติ
ของแต่ละสถาบัน และมีการบูรณาการเข้ากับพันธกิจอื่นๆ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิต รวมทั้ง
มีการจัดกิจกรรมที่ฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรม สร้างสรรค์
ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นรากฐานการพัฒนาองค์ความรู้ที่ดีขึ้น

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
การบริหารจัดการ โดยมีสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานของสถาบันให้มีประสิทธิภาพ สถาบันอุดมศึกษาจะต้องบริหารจัดการด้านต่างๆ ให้มีคุณภาพ เช่น ทรัพยากรบุคคล ระบบฐานข้อมูล การบริหารความเสี่ยง การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรทั้งหมด ฯลฯ เพื่อสัมฤทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยใช้หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)



การประกันคุณภาพการศึกษาภายใน ระดับสถาบัน
ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่
องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ


องค์ประกอบที่ 1 การผลิตบัณฑิต
การผลิตบัณฑิต หรือการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้ผู้เรียนมีความรู้ในวิชาการและวิชาชีพ มีคุณลักษณะตามหลักสูตรที่กำหนด การเรียนการสอนในยุคปัจจุบันใช้หลักการของการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เริ่มตั้งแต่การกำหนดปัจจัยนำเข้าที่ได้มาตรฐานตามที่กำหนด ประกอบด้วย การมีอาจารย์ที่มีปริมาณและคุณภาพตามมาตรฐานหลักสูตร มีกระบวนการบริหารจัดการการเรียนการสอนที่อาศัยหลักการร่วมมือรวมพลังของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกสถาบัน

องค์ประกอบที่ 2 การวิจัย
จึงต้องมีระบบและกลไกควบคุมให้สามารถดำเนินการในพันธกิจด้านนี้อย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพตามจุดเน้นเฉพาะของแต่ละสถาบันเพื่อให้ได้ผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่เกิดประโยชน์ การวิจัยจะประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์จำเป็นต้องมีส่วนประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1) สถาบันต้องมีแผนการวิจัย มีระบบและกลไก ตลอดจนมีการสนับสนุนทรัพยากรให้สามารถดำเนินการได้ตามแผน
2) คณาจารย์มีส่วนร่วมในการวิจัยอย่างเข้มแข็ง โดยบูรณาการงานวิจัยกับการจัดการเรียน
การสอน และพันธกิจด้านอื่นๆ ของสถาบัน
3) ผลงานวิจัยมีคุณภาพ มีประโยชน์ สนองยุทธศาสตร์ของชาติและมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวาง

องค์ประกอบที่ 3 การบริการวิชาการ
การบริการทางวิชาการแก่สังคมเป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสถาบันอุดมศึกษา สถาบันพึงให้
บริการทางวิชาการแก่ชุมชน สังคม และประเทศชาติ ในรูปแบบต่างๆ ตามความถนัดและ
ในด้านที่สถาบันมีความเชี่ยวชาญการให้บริการทางวิชาการอาจให้เปล่าโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย
หรืออาจคิดค่าใช้จ่ายตามความเหมาะสม โดยให้บริการทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน หน่วยงานอิสระ หน่วยงานสาธารณะ ชุมชน และสังคม

องค์ประกอบที่ 4 การทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม
สถาบันอุดมศึกษาจึงต้องมีระบบและกลไกการดำเนินงานด้านนี้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและคุณภาพ โดยอาจมีจุดเน้นเฉพาะที่แตกต่างกันตามปรัชญา และธรรมชาติของแต่ละสถาบัน และมีการบูรณาการเข้ากับพันธกิจอื่นๆ โดยเฉพาะการผลิตบัณฑิต รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมที่ฟื้นฟู อนุรักษ์ สืบสาน พัฒนา เผยแพร่ศิลปะและวัฒนธรรมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เป็นรากฐานการพัฒนาองค์ความรู้ที่ดีขึ้น

องค์ประกอบที่ 5 การบริหารจัดการ
การบริหารจัดการ โดยมีสภามหาวิทยาลัยทำหน้าที่ในการกำกับดูแลการทำงานของสถาบันให้มีประสิทธิภาพ สถาบันอุดมศึกษาจะต้องบริหารจัดการด้านต่างๆ ให้มีคุณภาพ เช่น ทรัพยากรบุคคล ระบบฐานข้อมูล การบริหารความเสี่ยง การบริหารการเปลี่ยนแปลง การบริหารทรัพยากรทั้งหมด ฯลฯ เพื่อสัมฤทธิผลตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ โดยใช้หลักธรรมาภิบาล (Good Governance)



นายอรรถพล  เรืองขจร  TME 358116251028