วันจันทร์ที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

สรุปมาตรฐานการอาชีวศึกษา-ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ2559

สรุปมาตรฐานการอาชีวศึกษา-ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ2559

มาตรฐานที่ 1    ด้านผลการจัดการศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 1.1    ระดับความพึงพอใจต่อคุณภาพผู้สำเร็จการศึกษา
1. สถานศึกษามีข้อมูลผู้สำเร็จการศึกษา จำแนกเป็น ผู้ที่ได้งานทำในสาขาที่เกี่ยวข้อง ศึกษาต่อ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ของจำนวนผู้สำเร็จการศึกษา
2. สถานศึกษามีการสำรวจความพึงพอใจต่อคุณภาพของผู้สำเร็จการศึกษาเป็นรายบุคคล และได้รับข้อมูลตอบกลับ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 จากสถานประกอบการ
3. สถานศึกษามีจำนวนข้อมูลตอบกลับที่มีผลการประเมินความพึงพอใจ ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะ ด้านสมรรถนะวิชาชีพ เฉลี่ย 3.51 5.00 ตั้งแต่ร้อยละ 80 ขึ้นไป

ตัวบ่งชี้ที่ 1.2    ร้อยละของผู้สำเร็จการศึกษาเทียบกับจำนวนผู้เข้าเรียน

สูตรการคำนวณ
                   ร้อยละ           =        จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา           x  100
                                                จำนวนผู้เข้าเรียนแรกข้าวของรุ่น

มาตรฐานที่ 2    ด้านบริหารจัดการศึกษา
ตัวบ่งชี้ที่ 2.1    ระดับคุณภาพในการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาตามแนวทางสถานศึกษาคุณธรรม
1. สถานศึกษามีการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับสถานศึกษาคุณธรรมและผู้บริหาร ครู
2. สถานศึกษามีการกำหนด คุณธรรมอัตลักษณ์ของสถานศึกษา
3. สถานศึกษาจัดให้กลุ่มผู้บริหาร บุคลากรทางการศึกษา และกลุ่มผู้เรียนจัดทำโครงกาคุณธรรม จริยธรรม 4. สถานศึกษาส่งเสริม ผู้บริหาร กลุ่มครู ดำเนินการตามโครงการคุณธรรม จริยธรรมโดยมีการนิเทศ
5. มีการประเมินผลการดำเนินการตามเป้าหมายที่กำหนด และมีการกำหนดแนวทางการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
ตัวบ่งชี้ที่ 2.2   ระดับคุณภาพในการดำเนินการตามนโยบายสำคัญของหน่วยงานต้นสังกัด
1. ผู้อำนวยการสถานศึกษามีความรู้ความเข้าใจ ในนโยบายสำคัญที่หน่วยงานต้นสังกัด
2. ผู้อำนวยการสถานศึกษามีความสามารถในการสื่อสารให้ครู บุคลากรทางการศึกษา
3. ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน ร่วมกันกำหนดแผนงานโครงการ กิจกรรม และเป้าหมาย
4. ผู้อำนวยการสถานศึกษามีการติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ กิจกรรม
5. มีการประเมินผลการดำเนินงานตามเป้าหมายและกำหนดแผนพัฒนาต่อไป
ตัวบ่งชี้ที่ 2.3   ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการด้านบุคลากร
1. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล ให้มีจำนวนครูทั้งหมดเทียบกับจำนวนผู้เรียนทั้งหมด ตามเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการ ให้ครูผู้สอนในแต่ละรายวิชาทุกคนเป็นผู้ที่จบการศึกษาตรงหรือสัมพันธ์กับรายวิชาที่สอน ให้ครูไม่น้อยกว่าร้อยละ 75 ได้ศึกษาฝึกอบรมประชุมวิชาการ ศึกษาดูงานด้านวิชาการ ให้มีจำนวนบุคลากรทางการศึกษาตามเกณฑ์มาตรฐานอัตรากำลังในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ให้ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการประกาศเกียรติคุณ ยกย่องความรู้ ความสามารถ คุณธรรม จริยธรรมจรรยาบรรณวิชาชีพ
ตัวบ่งชี้ที่ 2.4   ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการด้านการเงิน
1. สถานศึกษา มีการพัฒนาแผนปฏิบัติงานประจำปี มีการจัดงบประมาณเป็นค่าใช้จ่ายของแผนงาน โครงการ กิจกรรมต่างๆ
2. สถานศึกษา มีรายจ่ายค่าวัสดุฝึก อุปกรณ์และสื่อสำหรับการเรียนการสอนไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของงบดำเนินการ
3. สถานศึกษา มีรายจ่ายในการส่งเสริม สนับสนุนให้ผู้เรียนใช้ความรู้ความสามารถไปบริการวิชาการวิชาชีพหรือทำประโยชน์ต่อชุมชน มีการจัดทำการประกวด การแสดงโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพ นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ มีการจัดกิจกรรมด้านการรักชาติเทิดทูนพระมหากษัตริย์ ส่งเสริมการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข และทะนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม
ตัวบ่งชี้ที่ 2.5   ระดับคุณภาพในการบริหารจัดการด้านอาคารสถานที่ ด้านครุภัณฑ์
                             และด้านฐานข้อมูลสารสนเทศ
1. สถานศึกษา มีการพัฒนาและดูแลสภาพแวดล้อม ภูมิทัศน์ของสถานศึกษาให้สะอาด เรียบร้อย
2. สถานศึกษา มีการกำกับดูแลการใช้อาคารสถานที่ ห้องเรียน ห้องปฏิบัติการโรงฝึกงาน ศูนย์วิทยบริการและอื่นๆ ให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน มีการกำกับดูแลในการจัดหา การใช้ การบำรุงรักษาครุภัณฑ์ที่เหมาะสม เพียงพอ และมีความปลอดภัยในทุกสาขางานที่จัดการเรียนการสอน
3.มีการนำเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์มาใช้ในการบริหารจัดการระบบฐานข้อมูล อย่างน้อย 4 ประเภท อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ คือ
(1) มีระบบป้องกันผู้บุกรุกระบบฐานข้อมูลจากภายในและภายนอก
(2) มีการกำหนดสิทธิการเข้าถึงระบบฐานข้อมูลอย่างชัดเจน
(3) มีการติดตั้งโปรแกรม Anti Virus เพื่อป้องกันไวรัสและกำจัดไวรัส ในเครื่องลูกข่าย
(4) มรฐานข้อมูลการ Update เป็นปัจจุบัน
(5) มีการสำรองฐานข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
4. สถานศึกษา ส่งเสริม ครูและผู้เรียน สามารถใช้ประโยชน์จากการบริหารจัดการฐานข้อมูลสารสนเทศ
ตัวบ่งชี้ที่ 2.6   ระดับคุณภาพในการประสานงานความร่วมมือเพื่อการบริหารจัดการ
สถานศึกษา มีแผนงาน โครงการ ในการประสานความร่วมมือกับบุคคล ชุมชนสมาคม ชมรม เพื่อระดมทรัพยากรในการบริหารจัดการศึกษา การฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพ การรับเชิญเป็นครูพิเศษ วิทยากรร่วมพัฒนาผู้เรียนในทุกสาขางานที่จัดการเรียนการสอน การมอบทุนการศึกษาให้แก่ผู้เรียนโดยมีสัดส่วน 1 ทุนต่อผู้เรียนไม่เกิน 100 คน การบริจาคเงิน หรือวัสดุอุปกรณ์หรือครุภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นๆ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษา

มาตรฐานที่ 3 ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
          ตัวบ่งชี้ที่ 3.1    ระดับคุณภาพในการจัดการเรียนการสอนรายวิชา
1. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแล ให้ครูทุกคนจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาที่ถูกต้อง
2. ให้ครูทุกคนจัดการเรียนการสอนตามแผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา และมีการบันทึกหลังการสอน
3. ให้ครูทุกคนนำผลจากการวัดผลและการประเมินผลการเรียนตามสภาพจริงไปใช้ในการพัฒนาผู้เรียน
4. ให้มีการนิเทศการจัดการเรียนการสอนของครูทุกคน เพื่อเป็นข้อมูลในการแก้ไขปัญหา
5. ให้ครูทุกคนแก้ไขปัญหา พัฒนาการเรียนการสอนรายวิชาโดยการศึกษาหรือการวิจัย อย่างน้อย 1 รายวิชาซึ่งประกอบด้วย
          (1) การระบุปัญหา
          (2) การระบุวัตถุประสงค์
          (3) วิธีการดำเนินการ
          (4) การเก็บข้อมูล
          (5) การวิเคราะห์รายงานสรุปผล เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการศึกษา หรือการวิจัย ไปใช้ประโยชน์
ตัวบ่งชี้ที่ 3.2   ระดับคุณภาพในการพัฒนารายวิชาหรือกลุ่มวิชา
1. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแลให้ครูศึกษา สำรวจข้อมูลความต้องการในการพัฒนารายวิชา
2. ครูพัฒนารายวิชา หรือกลุ่มวิชาตามข้อ 1 จากเอกสารอ้างอิงที่เชื่อถือได้
3. สถานศึกษา สนับสนุนสื่อการสอนและกำกับดูแลให้ครูจัดการเรียนการสอนในรายวิชาให้ถูกต้อง
4. ให้มีการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนำผลไปปรับปรุงแก้ไขรายวิชา
5. สถานศึกษา มีรายวิชาหรือกลุ่มวิชาที่พัฒนาตามประเด็นการประเมินข้อ 1 – 4 ไม่เกิน 3 ปี ครบทุกสาขา
ตัวบ่งชี้ที่ 3.3   ระดับคุณภาพในการจัดการศึกษา
1. สถานศึกษา จัดการศึกษาระบบทวิภาคีตามประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่องมาตรฐานการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีไม่น้อยกว่าร้อยละ 20 ของจำนวนสาขางานที่จัดการเรียนการสอน
2. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแลให้ผู้เรียนได้ฝึกประสบการณ์ทักษะวิชาชีพในสถานประกอบการ หน่วยงานที่สอดคล้องกับสาขางานที่เรียน โดยมีครูนิเทศไปนิเทศผู้เรียนอย่างน้อย 1 ครั้ง
3. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน กำกับดูแลให้ผู้เรียนทุกคนทำโครงการพัฒนาทักษะวิชาชีพที่สอดคล้องกับสาขางานที่เรียนเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่มตามความเหมาะสม
4. สถานศึกษา จัดให้ผู้เรียนได้รับการประเมินมาตรฐานวิชาชีพ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการในการประเมินมาตรฐานวิชาชีพที่สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษากำหนด
5. สถานศึกษา ส่งเสริม กำกับดูแลให้ผู้เรียนได้รับรางวัล ประกาศเกียรติคุณยกย่องความรู้ความสามารถ
ตัวบ่งชี้ที่ 3.4   ระดับคุณภาพในการจัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร
1. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการจัดกิจกรรมด้านการรักชาติ เทิดทูนพระมหากษัตริย์
2. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการจัดกิจกรรมด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
3. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการจัดกิจกรรมด้านการกีฬาและนันทนาการ
4. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน ให้มีการจัดกิจกรรมด้านการส่งเสริมการดำรงตนตามปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ไม่น้อยกว่า 5 กิจกรรม
5. สถานศึกษา ส่งเสริม สนับสนุน ให้ผู้เรียนใช้ความรู้ความสามารถ ทำงานโดยใช้กระบวนการกลุ่มในการบริการวิชาการ วิชาชีพหรือทำประโยชน์ต่อชุมชน สังคม

มาตรฐานที่ 4    ด้านการประกันคุณภาพภายใน
          ตัวบ่งชี้ที่ 4.1    ระดับคุณภาพในการดำเนินการประกันคุณภาพภายใน
1. สถานศึกษา มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาและจัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษา
2. สถานศึกษา ได้ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
3. สถานศึกษา ได้จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
4. สถานศึกษา ได้จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
5. สถานศึกษา ได้จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่องจากผลการประเมินคุณภาพภายในและผลการประเมินคุณภาพภายนอก
ตัวบ่งชี้ที่ 4.2   ร้อยละของตัวบ่งชี้ที่มีการพัฒนา
สูตรการคำนวณ
                   ร้อยละ           =        จำนวนตัวบ่งชี้ที่มีการพัฒนา        x  100
                                                จำนวนตัวบ่งชี้ทั้งหมดที่มีการประเมิน





 นายอรรถพล  เรืองขจร TME 358116251028

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น